การโอนเงินนอกงบประมาณ ไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่น ?
การจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. .... จะสามารถบัญญัติให้โอนหรือนำเงินนอกงบประมาณ ไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่นได้หรือไม่ ?
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) มีความเห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 บัญญัตินิยามคำว่า "งบประมาณรายจ่าย" หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูง ที่อนุญาตให้จ่ายหรือให้ก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
และคำว่า "เงินนอกงบประมาณ" ตาม พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ได้บัญญัติให้ความหมายไว้ว่า บรรดาเงินทั้งปวงที่หน่วยงานของรัฐ จัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ หรือกรณีอื่นใดที่ต้องนำส่งคลัง แต่มีกฎหมายอนุญาตให้สามารถเก็บไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง
จึงเห็นได้ว่า เงินนอกงบประมาณมิใช่งบประมาณรายจ่าย ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดให้โอนเงินนอกงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณหนึ่ง ไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่นได้
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) มีความเห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 บัญญัตินิยามคำว่า "งบประมาณรายจ่าย" หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูง ที่อนุญาตให้จ่ายหรือให้ก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
และคำว่า "เงินนอกงบประมาณ" ตาม พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ได้บัญญัติให้ความหมายไว้ว่า บรรดาเงินทั้งปวงที่หน่วยงานของรัฐ จัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ หรือกรณีอื่นใดที่ต้องนำส่งคลัง แต่มีกฎหมายอนุญาตให้สามารถเก็บไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง
จึงเห็นได้ว่า เงินนอกงบประมาณมิใช่งบประมาณรายจ่าย ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดให้โอนเงินนอกงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณหนึ่ง ไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่นได้
ที่มา ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 602/2563 , รวมความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาฉบับย่อที่น่าสนใจ เดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนกันยายน 2563
#นักเรียนกฎหมาย
12 พฤษภาคม 2564
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น