การบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม พ.ศ. 2563 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.หลักการ ระเบียบฯ ฉบับนี้ มีหลักการสำคัญเพื่อให้การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม เป็นไปอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาประเทศ การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม มีความครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและบูรณาการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศบรรลุตามวิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.วัตถุประสงค์ การบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการใดๆ ที่จะให้เกิดความร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆ อันจะเป็นการลดหรือแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันจากสถานะ สิทธิ โอกาส และการเข้าถึงด้านต่างๆ ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม กระบวนการยุติธรรม และด้านอื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืนและสมดุล
3.กลไกสำคัญ ระเบียบฯ ดังกล่าว กำหนดให้มี "คณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม" หรือ "กบสท." เพื่อดำเนินการและอำนวยการ ให้เกิดการบูรณาการ เพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล โดยคำนึงถึงแผนอื่นๆ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1) วางแนวทางและวิธีการดำเนินการระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน ในการกำหนดแผนงาน โครงการ และการบริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
กบสท. ต้องเสนอแนวทางและวิธีการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุน ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแนวทางและวิธีการดำเนินการดังกล่าว
2) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานตามภารกิจ แผนงาน หรือโครงการของหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
3) พิจารณากำหนดแผนงานหรือโครงการ เกี่ยวกับการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมที่จำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล
กบสท. ต้องเสนอแผนงานหรือโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุน ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
4) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแผนงาน โครงการ และงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องและต่อเนื่องกันในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
5) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดทำ แก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎ และมาตรการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
6) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
7) ปฏิบัติการอื่นใด เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
4. หน่วยธุรการและอำนวยการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะทำหน้าที่เลขานุการของ กบสท. รับผิดชอบในงานธุรการและอำนวยการในการปฏิบัติหน้าที่ของ กบสท. และปฏิบัติการอื่นใดตามที่ กบสท. มอบหมาย รวมทั้งดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
1) ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ จัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ กบสท. และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) เสนอแนะต่อ กบสท. ในการกำหนดแนวทางและวิธีการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการขับเคลื่อน และแผนงานหรือโครงการในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
3) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอ จากหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจของ กบสท.
5. มาตรการสำคัญ หน่วยงานของรัฐ จะต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของ กบสท. และการดำเนินงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามระเบียบนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
1.หลักการ ระเบียบฯ ฉบับนี้ มีหลักการสำคัญเพื่อให้การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม เป็นไปอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาประเทศ การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม มีความครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและบูรณาการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศบรรลุตามวิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.วัตถุประสงค์ การบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการใดๆ ที่จะให้เกิดความร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆ อันจะเป็นการลดหรือแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันจากสถานะ สิทธิ โอกาส และการเข้าถึงด้านต่างๆ ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม กระบวนการยุติธรรม และด้านอื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืนและสมดุล
3.กลไกสำคัญ ระเบียบฯ ดังกล่าว กำหนดให้มี "คณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม" หรือ "กบสท." เพื่อดำเนินการและอำนวยการ ให้เกิดการบูรณาการ เพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล โดยคำนึงถึงแผนอื่นๆ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1) วางแนวทางและวิธีการดำเนินการระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน ในการกำหนดแผนงาน โครงการ และการบริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
กบสท. ต้องเสนอแนวทางและวิธีการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุน ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแนวทางและวิธีการดำเนินการดังกล่าว
2) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานตามภารกิจ แผนงาน หรือโครงการของหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
3) พิจารณากำหนดแผนงานหรือโครงการ เกี่ยวกับการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมที่จำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล
กบสท. ต้องเสนอแผนงานหรือโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุน ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
4) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแผนงาน โครงการ และงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องและต่อเนื่องกันในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
5) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดทำ แก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎ และมาตรการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
6) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
7) ปฏิบัติการอื่นใด เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
4. หน่วยธุรการและอำนวยการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะทำหน้าที่เลขานุการของ กบสท. รับผิดชอบในงานธุรการและอำนวยการในการปฏิบัติหน้าที่ของ กบสท. และปฏิบัติการอื่นใดตามที่ กบสท. มอบหมาย รวมทั้งดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
1) ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ จัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ กบสท. และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) เสนอแนะต่อ กบสท. ในการกำหนดแนวทางและวิธีการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการขับเคลื่อน และแผนงานหรือโครงการในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
3) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอ จากหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจของ กบสท.
5. มาตรการสำคัญ หน่วยงานของรัฐ จะต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของ กบสท. และการดำเนินงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามระเบียบนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
ที่มา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม พ.ศ. 2563 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
#นักเรียนกฎหมาย
8 พฤษภาคม 2564
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น