การสิ้นผลของกฎหมายลำดับรอง
ในเรื่องการสิ้นผลของกฎหมายลำดับรองนั้น ตามหลักกฎหมายทั่วไป เมื่อกฎหมายแม่บทได้ถูกยกเลิกทั้งฉบับและสิ้นผลใช้บังคับไปโดยกฎหมายแม่บทที่ออกใหม่ ส่งผลให้กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยกฎหมายฉบับเก่า สิ้นผลการใช้บังคับตามไปด้วย
แต่ในกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบางมาตรา จะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไปว่า กฎหมายลำดับรองจะยังคงมีผลใช้บังคับอยู่หรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีความเห็นในเรื่องนี้ไว้ โดยเป็นการหารือว่า ประกาศกระทรวงกลาโหม ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ประกาศดังกล่าวจะยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไปหรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า มาตรา 7 (เดิม) บัญญัติว่า "ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดว่า อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสี หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้ชนิดใดเป็นยุทธภัณฑ์"
แต่ในกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบางมาตรา จะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไปว่า กฎหมายลำดับรองจะยังคงมีผลใช้บังคับอยู่หรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีความเห็นในเรื่องนี้ไว้ โดยเป็นการหารือว่า ประกาศกระทรวงกลาโหม ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ประกาศดังกล่าวจะยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไปหรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า มาตรา 7 (เดิม) บัญญัติว่า "ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดว่า อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสี หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้ชนิดใดเป็นยุทธภัณฑ์"
ส่วนมาตรา 7 (ใหม่) บัญญัติว่า "ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดว่า อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวภาพ วัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ ยานพาหนะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้ชนิดใดเป็นยุทธภัณฑ์"
ที่มา
กฎหมายแม่บท ตามมาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ ยังคงมีหลักการสำคัญคือ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีกำหนดว่า สิ่งใดเป็นยุทธภัณฑ์ วัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการอันเป็นสาระสำคัญเป็นไปตามหลักการเดิมทุกประการ ดังนั้น ประกาศกระทรวงกลาโหมดังกล่าวจึงยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไป
(สำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่นี้ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับถ้อยคำที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการแก้ไขถ้อยคำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเท่านั้น)
ที่มา
- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1447/2562 อ้างในกฤษฎีกาสาร ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2563) หน้า 6
- พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530
- พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
#นักเรียนกฎหมาย
23 มกราคม 2564
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น