การกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นคุณยิ่งกว่าที่กฎหมายกำหนด จะนับระยะเวลาในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองอย่างไร?
ในเรื่องการกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งได้กำหนดให้เป็นคุณยิ่งกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จะนับระยะเวลาในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองอย่างไร? นั้น คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้ให้ความเห็นไว้ดังนี้
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นปรากฏว่า อดีตนายก อบต. มีส่วนทำให้รถบรรทุกน้ำของ อบต.เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ ได้รับความเสียหาย
อบต.จึงได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 เรียกให้อดีตนายก อบต. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยกำหนดให้อุทธรณ์คำสั่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
แต่ต่อมา อบต.ได้มีคำสั่งที่มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกันอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553 แต่แก้ไขระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่ง เป็นให้อุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีความเห็นว่า คำสั่งแรกที่กำหนดให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง เป็นระยะเวลาอุทธรณ์ที่มากกว่า 15 วัน ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อันเป็นคุณยิ่งกว่าที่กฎหมายกำหนด กรณีจึงมิใช่คำสั่งที่มีข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงและชัดแจ้ง อบต.และเจ้าหน้าที่ จึงต้องผูกพันตามระยะเวลาดังกล่าว โดย อบต. ต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คำสั่งแรกเป็นที่สุด ตามมาตรา 63/8 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ส่วนการออกคำสั่งครั้งหลังนั้น แม้จะมีการแจ้งสิทธิอุทธรณ์ตามระยะเวลาที่มาตรา 44 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ก็ตาม แต่เนื่องจากคำสั่งแรกมีผลบังคับตามกฎหมายแล้ว คำสั่งหลังจึงไม่มีผลเป็นการขยายระยะเวลาบังคับทางปกครองภายใต้คำสั่งแรกแต่อย่างใด
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นปรากฏว่า อดีตนายก อบต. มีส่วนทำให้รถบรรทุกน้ำของ อบต.เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ ได้รับความเสียหาย
อบต.จึงได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 เรียกให้อดีตนายก อบต. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยกำหนดให้อุทธรณ์คำสั่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
แต่ต่อมา อบต.ได้มีคำสั่งที่มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกันอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553 แต่แก้ไขระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่ง เป็นให้อุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีความเห็นว่า คำสั่งแรกที่กำหนดให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง เป็นระยะเวลาอุทธรณ์ที่มากกว่า 15 วัน ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อันเป็นคุณยิ่งกว่าที่กฎหมายกำหนด กรณีจึงมิใช่คำสั่งที่มีข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงและชัดแจ้ง อบต.และเจ้าหน้าที่ จึงต้องผูกพันตามระยะเวลาดังกล่าว โดย อบต. ต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คำสั่งแรกเป็นที่สุด ตามมาตรา 63/8 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ส่วนการออกคำสั่งครั้งหลังนั้น แม้จะมีการแจ้งสิทธิอุทธรณ์ตามระยะเวลาที่มาตรา 44 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ก็ตาม แต่เนื่องจากคำสั่งแรกมีผลบังคับตามกฎหมายแล้ว คำสั่งหลังจึงไม่มีผลเป็นการขยายระยะเวลาบังคับทางปกครองภายใต้คำสั่งแรกแต่อย่างใด
ที่มา ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ 1594/2562 อ้างในกฤษฎีกาสาร ปีที่ 15 ฉบับที่ 5 (มิถุนายน - กรกฎาคม 2563) หน้า 7
#นักเรียนกฎหมาย
18 มกราคม 2564
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น