คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด : การลงโทษทางวินัย ต้องเหมาะสมกับพฤติการณ์การกระทำความผิด
คดีนี้เกิดขึ้นจาก ลูกจ้างประจำ 2 คน มีหน้าที่ในตำแหน่งรักษาอาคาร และลูกจ้างประจำอีก 1 คน ทำหน้าที่ในตำแหน่งคนงาน ได้ร่วมเล่นการพนันไฮโลว์กับผู้อื่น รวม 11 คน ในวันหยุดโดยใช้สถานที่ราชการ และถูกตำรวจจับกุม ศาลมีคำพิพากษาปรับคนละ 1,000 บาท
ผู้บังคับบัญชาได้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง และมีคำสั่งลงโทษปลดลูกจ้างประจำทั้ง 3 คน ออกจากราชการ เนื่องจากเป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ลูกจ้างประจำทั้ง 3 คน ไม่ได้มีหน้าที่ในการกวดขันการกระทำผิดกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลอาคารของหน่วยงาน ไม่ได้มีหน้าที่ติดต่อหรือบริการประชาชนโดยตรง ไม่ได้เป็นเจ้ามือ เจ้าสำนักหรือเล่นการพนันเป็นอาจิณ และกระทำความผิดนอกเวลาราชการมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
ผู้บังคับบัญชาได้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง และมีคำสั่งลงโทษปลดลูกจ้างประจำทั้ง 3 คน ออกจากราชการ เนื่องจากเป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ลูกจ้างประจำทั้ง 3 คน ไม่ได้มีหน้าที่ในการกวดขันการกระทำผิดกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลอาคารของหน่วยงาน ไม่ได้มีหน้าที่ติดต่อหรือบริการประชาชนโดยตรง ไม่ได้เป็นเจ้ามือ เจ้าสำนักหรือเล่นการพนันเป็นอาจิณ และกระทำความผิดนอกเวลาราชการมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
ประกอบกับ ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของส่วนราชการต่างๆ ได้รวบรวมแนวทางการลงโทษ ที่ปรับบทความผิดและกำหนดระดับโทษได้อย่างเหมาะสม ซึ่งกรณีการเล่นการพนัน มีการลงโทษตัดเงินเดือนและลงโทษลดเงินเดือน การลงโทษจึงต้องคำนึงถึงระดับโทษที่ส่วนราชการอื่นลงโทษด้วย
สำหรับแนวทางการลงโทษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 ซึ่งถือเป็นเพียงคำแนะนำให้ส่วนราชการนำไปประกอบการพิจารณา มิได้หมายความว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดฐานเล่นการพนันแล้ว จะต้องเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงทุกกรณี
ดังนั้น การกระทำของลูกจ้างประจำทั้ง 3 คน ยังไม่อาจถือได้ว่า กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แต่เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว (เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง) ซึ่งผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดได้ คำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษดังกล่าว
สำหรับแนวทางการลงโทษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 ซึ่งถือเป็นเพียงคำแนะนำให้ส่วนราชการนำไปประกอบการพิจารณา มิได้หมายความว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดฐานเล่นการพนันแล้ว จะต้องเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงทุกกรณี
ดังนั้น การกระทำของลูกจ้างประจำทั้ง 3 คน ยังไม่อาจถือได้ว่า กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แต่เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว (เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง) ซึ่งผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดได้ คำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษดังกล่าว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น