ตรวจรับงานที่ยังไม่เสร็จและไม่เรียกค่าปรับที่ส่งงานล่าช้ากว่ากำหนด ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับการตรวจรับงานที่ยังไม่เสร็จและไม่เรียกค่าปรับที่ส่งงานล่าช้ากว่ากำหนด ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
คดีนี้สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง กรณีหน่วยงานของรัฐได้จ้างซ่อมรถยนต์ส่วนกลาง ซึ่งผู้ฟ้องคดีเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ
ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ลงลายมือชื่อตรวจรับงานซ่อมในใบตรวจรับพัสดุ ทั้งที่งานซ่อมยังไม่แล้วเสร็จ และมีการเบิกจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้กับผู้รับจ้างก่อนที่ผู้รับจ้างจะส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนด
พฤติการณ์เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ อันเป็นการทำให้ผู้รับจ้างได้รับประโยชน์ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ลงลายมือชื่อตรวจรับงานซ่อมในใบตรวจรับพัสดุ ทั้งที่งานซ่อมยังไม่แล้วเสร็จ และมีการเบิกจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้กับผู้รับจ้างก่อนที่ผู้รับจ้างจะส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนด
พฤติการณ์เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ อันเป็นการทำให้ผู้รับจ้างได้รับประโยชน์ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจออกคำสั่ง จึงพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูล และมีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ
ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่ง ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์
ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องคดีต่อศาล ขอให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าว เป็นการชี้มูลความผิดทางวินัย มิได้เป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการพิจารณาเพื่อมีมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ โดยไม่จำต้องยึดถือพยานหลักฐานจากสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าว เป็นการชี้มูลความผิดทางวินัย มิได้เป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการพิจารณาเพื่อมีมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ โดยไม่จำต้องยึดถือพยานหลักฐานจากสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย วินิจฉัยว่าคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น