การร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง
โดยที่มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 บัญญัติว่า ผู้ต้องขังมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ ต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ ผู้บัญชาการเรือนจำ อธิบดี รัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงได้ออก กฎกระทรวงการร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ผู้ต้องขังมีสิทธิยื่นคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ ต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ ผู้บัญชาการเรือนจำ อธิบดี รัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ หรือสถานที่ที่เรือนจำจัดไว้ เพื่อดำเนินการจัดส่งไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่ผู้ต้องขังประสงค์ก็ได้
2. ผู้ต้องขังจะยื่นคำร้องทุกข์ด้วยวาจา หรือโดยทำเป็นหนังสือก็ได้ ถ้ากระทำด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งรับคำร้องทุกข์เป็นผู้บันทึกคำร้องทุกข์ ในบันทึกคำร้องทุกข์หรือหนังสือร้องทุกข์นั้น ต้องลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์และเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งรับคำร้องทุกข์ด้วย
3. การเขียนหนังสือร้องทุกข์หรือเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ผู้ต้องขังต้องเขียนด้วยตนเอง เว้นแต่ไม่สามารถเขียนด้วยตนเองได้ ให้เจ้าพนักงานเรือนจำพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความประสงค์ของผู้ต้องขัง ในกรณีที่ผู้ต้องขังไม่สามารถจัดหาเครื่องเขียนส่วนตัวได้ ให้เจ้าพนักงานเรือนจำจัดหาให้ ทั้งนี้ จะต้องเขียนในสถานที่ที่เรือนจำจัดให้
4. เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำได้รับคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ หรือฎีกา ที่ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว ให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งได้รับมอบหมายตรวจดูข้อความ และตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วทำความเห็นเสนอผู้บัญชาการเรือนจำ พร้อมกับแนวทางการแก้ไขหรือการให้ความช่วยเหลือ เว้นแต่เป็นการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ให้ส่งหนังสือไปยังอธิบดีเพื่อดำเนินการต่อไป
5. คำสั่งหรือคำชี้แจงตอบคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ต้องแจ้งให้ผู้ต้องขังซึ่งยื่นคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาทราบ และให้ผู้ต้องขังคนนั้น ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ที่มา กฎกระทรวงการร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง พ.ศ. 2563 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงได้ออก กฎกระทรวงการร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ผู้ต้องขังมีสิทธิยื่นคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ ต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ ผู้บัญชาการเรือนจำ อธิบดี รัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ หรือสถานที่ที่เรือนจำจัดไว้ เพื่อดำเนินการจัดส่งไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่ผู้ต้องขังประสงค์ก็ได้
2. ผู้ต้องขังจะยื่นคำร้องทุกข์ด้วยวาจา หรือโดยทำเป็นหนังสือก็ได้ ถ้ากระทำด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งรับคำร้องทุกข์เป็นผู้บันทึกคำร้องทุกข์ ในบันทึกคำร้องทุกข์หรือหนังสือร้องทุกข์นั้น ต้องลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์และเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งรับคำร้องทุกข์ด้วย
3. การเขียนหนังสือร้องทุกข์หรือเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ผู้ต้องขังต้องเขียนด้วยตนเอง เว้นแต่ไม่สามารถเขียนด้วยตนเองได้ ให้เจ้าพนักงานเรือนจำพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความประสงค์ของผู้ต้องขัง ในกรณีที่ผู้ต้องขังไม่สามารถจัดหาเครื่องเขียนส่วนตัวได้ ให้เจ้าพนักงานเรือนจำจัดหาให้ ทั้งนี้ จะต้องเขียนในสถานที่ที่เรือนจำจัดให้
4. เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำได้รับคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ หรือฎีกา ที่ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว ให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งได้รับมอบหมายตรวจดูข้อความ และตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วทำความเห็นเสนอผู้บัญชาการเรือนจำ พร้อมกับแนวทางการแก้ไขหรือการให้ความช่วยเหลือ เว้นแต่เป็นการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ให้ส่งหนังสือไปยังอธิบดีเพื่อดำเนินการต่อไป
5. คำสั่งหรือคำชี้แจงตอบคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ต้องแจ้งให้ผู้ต้องขังซึ่งยื่นคำร้องทุกข์ หรือเรื่องราวใดๆ หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาทราบ และให้ผู้ต้องขังคนนั้น ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ที่มา กฎกระทรวงการร้องทุกข์ การยื่นเรื่องราวใดๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของผู้ต้องขัง พ.ศ. 2563 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
#นักเรียนกฎหมาย
13 ตุลาคม 2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น