กฎหมายใหม่ : พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137/ตอนที่ 71 ก/หน้า 1/8 กันยายน 2563 มีสาระสำคัญดังนี้
1. กฎหมายฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป)
1. กฎหมายฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป)
2. เจตนารมณ์ เพื่อส่งเสริมให้มี "ระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี" เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่มีกรณีพิพาททางแพ่ง ใช้เป็นช่องทางในการยุติข้อพิพาทก่อนที่จะมีการฟ้องคดี โดยคู่กรณีสามารถร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และหากตกลงกันได้ ก็อาจขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้ทันที ทำให้ข้อพิพาททางแพ่งสามารถยุติลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องคดี อีกทั้งเป็นการประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องสูญเสียในการดำเนินคดีอันจะยังประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม
3. การแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการเพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 20 ตรี แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพียงมาตราเดียว โดยมีหลักการดังนี้
1) ก่อนยื่นฟ้องคดี บุคคลที่จะเป็นคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจหากมีการฟ้องคดีนั้น เพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โดยคำร้องดังกล่าว ให้ระบุชื่อ ภูมิลำเนาของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดของข้อพิพาท
1) ก่อนยื่นฟ้องคดี บุคคลที่จะเป็นคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจหากมีการฟ้องคดีนั้น เพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โดยคำร้องดังกล่าว ให้ระบุชื่อ ภูมิลำเนาของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดของข้อพิพาท
2) เมื่อศาลเห็นสมควร ให้ศาลรับคำร้องไว้ แล้วสอบถามความสมัครใจของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย
3) หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย ให้ศาลมีอำนาจเรียกคู่กรณีที่เกี่ยวข้องมาศาลด้วยตนเอง โดยคู่กรณีจะมีทนายความมาด้วยหรือไม่ก็ได้ และแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อไป โดยให้นำความในมาตรา 20 ทวิ (หลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ย) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
4) ถ้าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันได้ ให้ผู้ประนีประนอมเสนอข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล
5) หากศาลพิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณี หลักแห่งความสุจริต เป็นธรรม และไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ก็ให้คู่กรณีลงลายมือชื่อในข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
6) ในวันทำข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่สัญญาอาจร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม พร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อศาล หากศาลเห็นว่ากรณีมีความจำเป็นที่สมควรจะมีคำพิพากษาไปในเวลานั้น ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาไปตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ โดยให้นำความในมาตรา 138 (คำพิพากษาตามยอม) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
7) การขอและการดำเนินการตามมาตรานี้ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
8) คำสั่งของศาลที่ออกตามความในมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
9) ถ้าการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงโดยไม่เป็นผล หากอายุความครบกำหนดไปแล้วหลังจากยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย หรือจะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง ให้อายุความขยายออกไปอีก 60 วัน นับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
6) ในวันทำข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่สัญญาอาจร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม พร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อศาล หากศาลเห็นว่ากรณีมีความจำเป็นที่สมควรจะมีคำพิพากษาไปในเวลานั้น ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาไปตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ โดยให้นำความในมาตรา 138 (คำพิพากษาตามยอม) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
7) การขอและการดำเนินการตามมาตรานี้ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
8) คำสั่งของศาลที่ออกตามความในมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
9) ถ้าการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงโดยไม่เป็นผล หากอายุความครบกำหนดไปแล้วหลังจากยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย หรือจะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง ให้อายุความขยายออกไปอีก 60 วัน นับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
คลิกดาวน์โหลดไฟล์ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563
#นักเรียนกฎหมาย
9 กันยายน 2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น