8 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับรายงานละเมิดที่ไม่ต้องส่งให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ
เมื่อช่วงเดือนมกราคม 2563 นักเรียนกฎหมาย.com ได้สรุปสาระสำคัญของ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ พ.ศ. 2562 ซึ่งได้รับความสนใจและมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ในครั้งนี้จึงได้รวบรวมประเด็นที่สำคัญ และข้อสังเกตที่น่าสนใจจากประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวไว้ 8 ประเด็น ดังนี้
2) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ ครั้งละเกินกว่า 1,000,000 บาท สำหรับความเสียหายประเภท
2.1) ความเสียหายจากสาเหตุทั่วไปที่มิได้มีสาเหตุจากการทุจริต เงินขาดบัญชีหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือข้อบังคับต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ เพลิงไหม้ ทรัพย์สินเสียหายหรือสูยหาย เป็นต้น และหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาให้ผู้ต้องรับผิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ร้อยละ 75 ของความเสียหายทั้งหมด
2.2) ความเสียหายที่มีสาเหตุจากการทุจริต และหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาให้ผู้ทุจริตรับผิดชดใช้เต็มจำนวนความเสียหายและพิจารณาให้ผู้เกี่ยวข้องซึ่งกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นโอกาสหรือช่องทางให้เกิดการทุจริตชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนความเสียหาย
2.3) ความเสียหายที่มิได้เกิดจากการทุจริต แต่มีสาเหตุจากเงินขาดบัญชีหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือข้อบังคับต่างๆ และหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาให้ผู้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนความเสียหาย
3) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการ
6. ประกาศฉบับปัจจุบัน (ปี 2562) ได้เพิ่มเติมหลักการใหม่ขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวคือ หากคณะรัฐมนตรีมีมติให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ ก็ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ
1. เมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ และมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับผู้ต้องรับผิด และจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้
2. ต่อมาเมื่อการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดดังกล่าวเสร็จสิ้น โดยหลักทั่วไป ผู้สั่งแต่งตั้งจะต้องวินิจฉัยสั่งการว่ามีผู้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าใด แต่ยังไม่ต้องออกคำสั่ง โดยให้ส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวไปให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ เพื่อเป็นการกลั่นกรองการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งให้มีมาตรฐานเดียวกัน และหากกระทรวงการคลังตรวจสอบสำนวนแล้วเสร็จมีความเห็นเป็นประการใด หน่วยงานของรัฐย่อมต้องผูกพันตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
3. อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังไม่สามารถตรวจสอบสำนวนการสอบสวนของหน่วยงานทั้งประเทศ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ข้อ 17 วรรคสอง จึงให้อำนาจกระทรวงการคลังประกาศกำหนดว่าเรื่องใดไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ซึ่งมีผลทำให้หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาออกคำสั่งให้ผู้เกี่ยวข้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทันที เพื่อให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
4. กระทรวงการคลังจึงได้มีประกาศกำหนดเรื่องที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ โดยประกาศฉบับแรกเมื่อปี 2541 ต่อมามีการยกเลิกและประกาศใช้ฉบับใหม่เรื่อยมา จนถึงปัจจุบันเป็นฉบับที่ 5 ดังนี้
5. ปัจจุบัน เรื่องที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ (ตามประกาศปี 2562) ดังนี้
1) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ ครั้งละไม่เกิน 1,000,000 บาท2) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ ครั้งละเกินกว่า 1,000,000 บาท สำหรับความเสียหายประเภท
2.1) ความเสียหายจากสาเหตุทั่วไปที่มิได้มีสาเหตุจากการทุจริต เงินขาดบัญชีหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือข้อบังคับต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ เพลิงไหม้ ทรัพย์สินเสียหายหรือสูยหาย เป็นต้น และหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาให้ผู้ต้องรับผิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ร้อยละ 75 ของความเสียหายทั้งหมด
2.2) ความเสียหายที่มีสาเหตุจากการทุจริต และหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาให้ผู้ทุจริตรับผิดชดใช้เต็มจำนวนความเสียหายและพิจารณาให้ผู้เกี่ยวข้องซึ่งกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นโอกาสหรือช่องทางให้เกิดการทุจริตชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนความเสียหาย
2.3) ความเสียหายที่มิได้เกิดจากการทุจริต แต่มีสาเหตุจากเงินขาดบัญชีหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือข้อบังคับต่างๆ และหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาให้ผู้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนความเสียหาย
3) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการ
6. ประกาศฉบับปัจจุบัน (ปี 2562) ได้เพิ่มเติมหลักการใหม่ขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวคือ หากคณะรัฐมนตรีมีมติให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ ก็ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ
หลักการใหม่นี้ผมมีความเห็นว่าไม่น่าจะถูกต้อง เนื่องจาก
1) พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี รวมทั้งให้หักส่วนแห่งความรับผิดออกด้วยถ้าหากการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม
การที่คณะรัฐมนตรีจะมีอำนาจยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายได้นั้น จะต้องมีกฎหมายบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ และเป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับศักดิ์เดียวกันขึ้นไป ซึ่งตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มิได้ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีที่จะยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 8 จึงสมควรที่จะมีการศึกษาต่อไป ว่ามีกฎหมายใดให้อำนาจคณะรัฐมนตรีไว้หรือไม่ และให้อำนาจไว้เพียงใด
2) หากปรากฏว่ามีพระราชบัญญัติใดได้ให้อำนาจคณะรัฐมนตรียกเว้นความรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้า พ.ศ. 2539 กระทรวงการคลังจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดอีกต่อไป เนื่องจากมีกฎหมายยกเว้นความรับผิดไว้แล้ว (ถ้ามี) และการออกประกาศกำหนดให้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบจึงไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด
7. ตามประกาศฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 4 หากเรื่องใดเข้าข่ายไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงการคลังทราบทุกระยะ 3 เดือน แต่ปัจจุบันกำหนดให้มีการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงาน โดยให้หน่วยงานของรัฐรายงานความเสียหายใน "ระบบความรับผิดทางละเมิดและแพ่ง" ที่กรมบัญชีกลางจัดทำขึ้น
8. ประกาศฉบับปัจจุบัน (ปี 2562) ได้กำหนดนิยามคำว่า "หน่วยงานของรัฐ" ไว้ ให้หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งนิยามดังกล่าวมีถ้อยคำเช่นเดียวกับนิยามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มิได้กำหนดความหมายให้แตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดขึ้นซ้ำแต่อย่างใด ดังเช่นประกาศฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 4 ก็มิได้กำหนดให้ซ้ำ
#นักเรียนกฎหมาย
27 สิงหาคม 2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น