สาระสำคัญ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป มีสาระสำคัญดังนี้
1. เจตนารมณ์
ระเบียบดังกล่าว เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติในการไว้ทรงผมของนักเรียนเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการของสถานศึกษา มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันและการปฏิบัติตนของนักเรียนเป็นไปด้วยความถูกต้อง รวมทั้งเป็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย
2. นิยาม
ระเบียบฉบับนี้ ให้คำจำกัดความเพื่อเป็นขอบเขตการใช้บังคับไว้ 3 คำ ประกอบด้วย
"นักเรียน" หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา
"สถานศึกษา" หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เว้นแต่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
"หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
จากนิยามความหมายข้างต้น จึงอาจสรุปเบื้องต้นได้ว่า ระเบียบนี้มุ่งหมายให้บังคับใช้กับนักเรียนและสถานศึกษาทั้งในสังกัดและในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยไม่รวมถึงการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน.
3.ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผม
1) นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย
2) นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย
4. ข้อห้ามปฏิบัติ
1) ดัดผม
2) ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม
3) ไว้หนวดหรือเครา
4) การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย
ทั้งนี้ สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียน วางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ โดยยึดหลักความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของนักเรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนท้องถิ่น
5. ข้อยกเว้น
สำหรับข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมดังกล่าว (ในข้อ 3 และ 4 ข้างต้น) มิให้นำมาใช้บังคับแก่นักเรียนที่มีเหตุผลความจำเป็นในการปฏิบัติตามหลักศาสนาของตนหรือการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา โดยหัวหน้าสถานศึกษาจะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ยกเว้นได้
6. การรักษาการและตีความปัญหาที่เกิดขึ้น
ระเบียบนี้กำหนดให้ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ที่มา ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
1. เจตนารมณ์
ระเบียบดังกล่าว เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติในการไว้ทรงผมของนักเรียนเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการของสถานศึกษา มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันและการปฏิบัติตนของนักเรียนเป็นไปด้วยความถูกต้อง รวมทั้งเป็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย
2. นิยาม
ระเบียบฉบับนี้ ให้คำจำกัดความเพื่อเป็นขอบเขตการใช้บังคับไว้ 3 คำ ประกอบด้วย
"นักเรียน" หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา
"สถานศึกษา" หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เว้นแต่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
"หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
จากนิยามความหมายข้างต้น จึงอาจสรุปเบื้องต้นได้ว่า ระเบียบนี้มุ่งหมายให้บังคับใช้กับนักเรียนและสถานศึกษาทั้งในสังกัดและในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยไม่รวมถึงการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน.
3.ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผม
1) นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย
2) นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย
4. ข้อห้ามปฏิบัติ
1) ดัดผม
2) ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม
3) ไว้หนวดหรือเครา
4) การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย
ทั้งนี้ สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียน วางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ โดยยึดหลักความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของนักเรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนท้องถิ่น
5. ข้อยกเว้น
สำหรับข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมดังกล่าว (ในข้อ 3 และ 4 ข้างต้น) มิให้นำมาใช้บังคับแก่นักเรียนที่มีเหตุผลความจำเป็นในการปฏิบัติตามหลักศาสนาของตนหรือการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา โดยหัวหน้าสถานศึกษาจะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ยกเว้นได้
6. การรักษาการและตีความปัญหาที่เกิดขึ้น
ระเบียบนี้กำหนดให้ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ที่มา ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
#นักเรียนกฎหมาย
5 สิงหาคม 2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น