แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 2)


ข้อ 11 ผู้มีอำนาจยกเว้นการปฏิบัติงานสารบรรณตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. อธิบดีกรมการสารบรรณ

ข้อ 12 ข้อใดมิใช่หนังสือประชาสัมพันธ์
ก. คำสั่ง
ข. ประกาศ
ค. ข่าว
ง. แถลงการณ์

ข้อ 13 การกรอกรายละเอียดกรณีผู้มาประชุมแทนในรายงานการประชุม ต้องดำเนินการตามข้อใด
ก. ลงชื่อผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม
ข. ระบุตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม
ค. ลงชื่อและตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม
ง. ลงชื่อผู้มาประชุมแทน และลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด

ข้อ 14 ข้อใดถูกต้อง
ก. การติดต่อราชการให้ดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
ข. ให้เก็บสำเนาคู่ฉบับหนังสือไว้ที่ต้นเรื่อง 2 ฉบับ
ค. หนังสือภาษาต่างประเทศไม่ต้องใช้กระดาษตราครุฑ
ง. หนังสือราชการภาษาอังกฤษที่ลงชื่อมี 2 ชนิด ได้แก่ หนังสือช่วยจำ (Aide-Memoire) และบันทึก (Memorandum)

ข้อ 15 การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ข้อ 16 ข้อใดไม่ถูกต้องในการดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป
ก. ต้องประทับตราคำว่า "ห้ามทำลาย"
ข. ขนาดอักษรไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์ 24 พอยท์
ค. ประทับตราด้วยหมึกสีแดง
ง. ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือที่มุมบนด้านซ้ายของกระดาษแผ่นแรก

ข้อ 17 การเก็บหนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ มีอายุการเก็บหนังสือตามข้อใด
ก. ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ดำเนินการแล้วเสร็จ
ข. ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่มีการตรวจสอบแล้วเสร็จ
ค. ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่ดำเนินการแล้วเสร็จ
ง. ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่มีการตรวจสอบแล้วเสร็จ

ข้อ 18 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกระดาษหนังสือ
ก. กระดาษตราครุฑ ให้ใช้ขนาดเอ 4
ข. กระดาษบันทึกข้อความ ให้ใช้ขนาดเอ 4 หรือเอ 5
ค. มาตรฐานกระดาษโดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาว
ง. ขนาดเอ 4 หมายความว่า ขนาด 148 มิลลิเมตร x 210 มิลลิเมตร

ข้อ 19 การแจ้งเตือนเรื่องที่ค้าง ควรทำหนังสือประเภทใด
ก. หนังสือภายนอก
ข. หนังสือประทับตรา
ค. หนังสือสั่งการ
ง. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานในราชการ

ข้อ 20 หนังสือติดต่อราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ต้องทำเป็นหนังสือใด
ก. บันทึกข้อความ
ข. หนังสือภายใน
ค. หนังสือประทับตรา
ง. หนังสือภายนอก

เฉลย
ข้อ 11 ตอบ ค. ดูข้อ 4 ประกอบข้อ 8 ส่วนราชการที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ สารบรรณ นี้ ต้องขอทำความตกลงกับปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข้อ 12 ตอบ ก. ดูข้อ 19 วรรคท้าย หนังสือประชาสัมพันธ์มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
ข้อ 13 ตอบ ง. ดูข้อ 25.5 ลงชื่อผู้มาประชุมแทนและลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด
ข้อ 14 ตอบ ก. ระเบียบฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564) ได้ยกเลิกข้อ 29 เดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งข้อ 29 วรรคหนึ่ง กำหนดให้การติดต่อราชการให้ดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก*** 
ข้อ 15 ตอบ ข. ดูข้อ 52 มี 3 ลักษณะ ได้แก่ การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติแล้วเสร็จ และการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
ข้อ 16 ตอบ ง. ดูข้อ 55.1 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ ต้องประทับตรากำหนดเก็บหนังสือไว้ที่มุมล่างด้านขวาของกระดาษแผ่นแรกของหนังสือฉบับนั้น
ข้อ 17 ตอบ ค. ดูข้อ 57.5 ต้องเก็บหนังสือไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่ดำเนินการในเรื่องนั้นๆ แล้วเสร็จ
ข้อ 18 ตอบ ง. ดูข้อ 74.1.1 ขนาดเอ 4 หมายความว่า ขนาด 210 มิลลิเมตร x 297 มิลลิเมตร
ข้อ 19 ตอบ ข. ดูข้อ 13.5 การเตือนเรื่องที่ค้างโดยใช้หนังสือประทับตรา
ข้อ 20 ตอบ ข. ดูข้อ 12 ต้องทำเป็น "หนังสือภายใน" โดยใช้ "กระดาษบันทึกข้อความ" ปล. บันทึกข้อความไม่ใช่ชนิดของหนังสือราชการ เป็นเพียงชนิดของกระดาษ

***ลิ้งก์ แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ*** 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542