ออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ตายไปแล้ว จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับทายาทได้หรือไม่
กรณีที่กรมศุลกากรได้มีคำสั่งให้ นาย ส. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อปี 2549 แต่ปรากฏว่า นาย ส. ได้เสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่ปี 2543 ก่อนที่กรมศุลกากรจะมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรมศุลกากรจะอาศัยอำนาจตามมาตรา 63/4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 เพื่อใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของนาย ส. ได้หรือไม่ อย่างไร
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเห็นว่าโดยที่มาตรา 63/4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติว่า ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองแก่บุคคลใด หากบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ให้ดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปได้ โดยให้ถือว่าทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองนั้น
บทบัญญัติดังกล่าวจึงใช้บังคับกับกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ออกคำสั่งทางปกครองให้ชำระเงินและมีบุคคลผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองให้ชำระเงิน อันอาจถูกใช้มาตรการบังคับทางปกครองอยู่แล้ว แต่ต่อมาบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย ทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของบุคคลนั้น จึงเป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองแทนที่บุคคลที่ถึงแก่ความตาย
กรณีตามข้อหารือ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย ส. ได้ถึงแก่ความตายก่อนที่กรมศุลกากรจะออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน นาย ส. ย่อมไม่อาจอยู่ในบังคับของคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและมาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งดังกล่าวได้ และทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของนาย ส. ก็ไม่อาจเป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองได้เช่นกัน ดังนั้น กรมศุลกากรจึงไม่อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 63/4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของนาย ส. แต่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลโดยฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ ตามแนวทางที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เคยให้ความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ 420/2551 แต่อย่างไรก็ดีคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีข้อสังเกตว่าการใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีมรดกในกรณีนี้ ต้องคำนึงถึงอายุความมรดกด้วย
ที่มา
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเห็นว่าโดยที่มาตรา 63/4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติว่า ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองแก่บุคคลใด หากบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ให้ดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปได้ โดยให้ถือว่าทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองนั้น
บทบัญญัติดังกล่าวจึงใช้บังคับกับกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ออกคำสั่งทางปกครองให้ชำระเงินและมีบุคคลผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองให้ชำระเงิน อันอาจถูกใช้มาตรการบังคับทางปกครองอยู่แล้ว แต่ต่อมาบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย ทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของบุคคลนั้น จึงเป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองแทนที่บุคคลที่ถึงแก่ความตาย
กรณีตามข้อหารือ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย ส. ได้ถึงแก่ความตายก่อนที่กรมศุลกากรจะออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน นาย ส. ย่อมไม่อาจอยู่ในบังคับของคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและมาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งดังกล่าวได้ และทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของนาย ส. ก็ไม่อาจเป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองได้เช่นกัน ดังนั้น กรมศุลกากรจึงไม่อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 63/4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของนาย ส. แต่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลโดยฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ ตามแนวทางที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เคยให้ความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ 420/2551 แต่อย่างไรก็ดีคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีข้อสังเกตว่าการใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีมรดกในกรณีนี้ ต้องคำนึงถึงอายุความมรดกด้วย
ที่มา
- กองกฎหมายปกครอง. กฤษฎีกาสาร ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 (เมษายน - พฤษภาคม 2563)
- ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ 322/2563
#นักเรียนกฎหมาย
24 กรกฎาคม 2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น