บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2019

4 คำศัพท์น่ารู้...ในกฎหมายอุทยานแห่งชาติ

รูปภาพ
    "อุทยานแห่งชาติ" "วนอุทยาน" "สวนพฤกษศาสตร์" และ "สวนรุกขชาติ" เป็น 4 คำที่พบเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง บางคน (รวมทั้งผู้เขียน) ไม่ทราบความหมายหรือความแตกต่างที่แท้จริงของคำแต่ละคำ อย่างไรก็ดีพอจะศึกษาเบื้องต้นได้จาก  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ที่ได้นิยามความหมายของคำ ต่างๆ เหล่านี้ไว้ ดังนี้     “อุทยานแห่งชาติ” หมายความว่า พื้นที่ที่มีความโดดเด่นสวยงามทางธรรมชาติเป็นพิเศษ หรือมีความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่าหรือพืชป่าประจำถิ่นที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ หรือโดดเด่นด้านธรณีวิทยา หรือมรดกทางวัฒนธรรมที่สมควรสงวนหรืออนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ของคนในชาติหรือเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติหรือนันทนาการของประชาชนอย่างยั่งยืน     “วนอุทยาน” หมายความว่า พื้นที่ที่มีสภาพธรรมชาติสวยงามเหมาะแก่การสงวนรักษาไว้ให้เป็นแหล่งคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติหรือนันทนาการของประชาชนโดยส่วนรวม     “สวนพฤกษศาสตร์” หมายความว่า พื้นที่ที่มีการจัดรวบรวมพรรณ

บทสรุปอัตราโทษเมาแล้วขับ

รูปภาพ
   บทสรุปอัตราโทษเมาแล้วขับ ตามมาตรา 43 (2) และมาตรา 160 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม      ผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ นอกจากนี้หากเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายหรือตาย ผู้ขับขี่ต้องรับโทษหนักขึ้นดังนี้     ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ  ผู้ขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่     ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้ขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 120,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่     ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้ขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 200,000 บาท และให้ศ

รูปภาพกฎหมาย (หน้า 3)

รูปภาพ
รูปภาพ  หน้า 1  ,  หน้า 2  ,  หน้า 3  ,  หน้า 4  ,  หน้า 5  ,  หน้า 6   ,  หน้า 7  ,  หน้า 8  ,  หน้า 9  ,  หน้า 10

การกำหนดให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

รูปภาพ
   การกำหนดให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นไปตาม พระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช 2483 (พระราชบัญญัติปีปฏิทิน พุทธศักราช 2483) คลิกดาวน์โหลดไฟล์    ประกอบกับ ประกาศ ให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ คลิกดาวน์โหลดไฟล์ *******

ห้ามเดินรถ บริเวณงานเค้าท์ดาวน์ 2020 เซ็นทรัลเวิลด์

รูปภาพ
ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดการจราจรในงาน "Bangkok Countdown 2020 @CentralWorld" 1. ถนนราชดำริ ตั้งแต่แยกราชประสงค์ ถึงแยกประตูน้ำ จัดการจราจร ดังนี้    1) ห้ามรถทุกชนิดเดิน จำนวน 1 ช่องทางจราจรด้านซ้าย (ฝั่งเซ็นทรัลเวิลด์)         ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2562 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 1 มกราคม 2563 เวลา 05.00 น.    2) ห้ามรถทุกชนิดเดิน จำนวน 2 ช่องทางจราจรด้านซ้าย (ฝั่งเซ็นทรัลเวิลด์)         ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 1 มกราคม 2563 เวลา 05.00 น.    3) ห้ามรถทุกชนิดเดิน จำนวน 4 ช่องทางจราจรด้านซ้าย (ฝั่งเซ็นทรัลเวิลด์)         ในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึงเวลา 14.00 น.    4) ห้ามรถทุกชนิดเดิน ทุกช่องทางจราจร         ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เวลา 14.00 น. ถึงวันที่ 1 มกราคม 2563 เวลา 02.00 น. 2. ห้ามรถทุกชนิดเดิน ห้ามหยุดหรือจอดรถทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เวลา 14.00 น. ถึงวันที่ 1 มกราคม 2563 เวลา 02.00 น. ในถนนดังต่อไปนี้    1) ถนนราชดำริ ตั้งแต่แยกราชประสงค์ ถึงจุ

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ชุดที่ 2)

รูปภาพ
ข้อ 11. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เลขาธิการ ก.พ. ก. เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ข. เป็นเลขานุการ ก.พ.ค. ค. เป็นเลขานุการ ก.พ. ง. เป็นกรรมการและเลขานุการ ก.พ. ข้อ 12. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ อ.ก.พ.สามัญ ก. ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน อ.ก.พ.จังหวัด ข. อธิบดีเป็นประธาน อ.ก.พ.กรม ค. ปลัดกระทรวงเป็นประธาน อ.ก.พ.กระทรวง ง. รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน อ.ก.พ.กระทรวง ข้อ 13. เลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. นั้น ข้อใดถูกต้อง ก. สำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ก.พ. ข. สำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ค. สำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี ง. สำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อ ก.พ. ข้อ 14. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. ตัวเลือกในข้อใดไม่ถูกต้อง ก. ประกอบด้วยกรรมการ 7 คน ข. กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทำงานเต็มเวลา ค. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี ง. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ข้อ 15. คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ข้อใดไม่ถูกต้อง ก. ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานกรรมการคัดเลือก ข. กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒ

เจ้าของโครงการอาคารชุด ถือเป็นเจ้าของร่วมที่ต้องชำระค่าส่วนกลางด้วย

รูปภาพ
   บริษัท ส. ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในอาคารชุด มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกันออกค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามส่วนตามมาตรา 4 และมาตรา 18 นับแต่วันที่จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเมื่อปี 2535 จนถึงวันที่บริษัท ส. โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้บุคคลอื่น      มิฉะนั้นแล้ว บริษัท ส. สามารถใช้ประโยชน์จากห้องชุดที่บริษัทถือกรรมสิทธิ์อยู่โดยไม่ต้องรับผิดชอบชำระค่าส่วนกลาง ทั้งๆ ที่บริษัทก็ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ส่วนกลางเช่นเดียวกับเจ้าของร่วมอื่นๆ จึงไม่เป็นธรรมแก่เจ้าของร่วมอื่น ในอาคารชุด ส.     การแก้ไขพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18 ในปี 2551 เป็นการแก้ไขเพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้นในส่วนที่เจ้าของโครงการหรือผู้จัดสรรถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดไว้ ถือว่าเป็นเจ้าของร่วมที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเช่นเดียวกัน มิได้บัญญัติเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบหรือเพิ่งจะถือว่าผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา 6 เป็นเจ้าของร่วมแต่อย่างใด อ้างอิง    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2562    พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522    มาตรา 18 บัญญัติว่า "เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรตามอัต

ผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียก ไม่ใช่การขัดขืนคำบังคับ แต่ต้องออกหมายจับ

รูปภาพ
   เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว    ในชั้นสอบสวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 (เดิม) บัญญัติว่า ผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดหรือจะไม่เต็มใจให้การเลยก็ได้ แสดงชัดว่าพนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใดๆ ไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย เห็นได้ว่าหมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การนั้น ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168    ส่วนกรณีที่ผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (3) (เดิม) ก็บัญญัติทางแก้ไว้ คือ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ อันเป็นการลงโทษผู้ต้องหาที่ขัดขืนหมายเรียกอยู่แล้ว    ศาลฎีกาเห็นว่า เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนไม่ การกระทำของ

รูปภาพกฎหมาย (หน้า 2)

รูปภาพ
รูปภาพ  หน้า 1  ,  หน้า 2  ,  หน้า 3  ,  หน้า 4  ,  หน้า 5  ,  หน้า 6   ,  หน้า 7  ,  หน้า 8  ,  หน้า 9  ,  หน้า 10

การผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

รูปภาพ
   พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มาตรา 52 บัญญัติให้ผู้เสียภาษีอาจขอผ่อนชำระภาษีเป็นงวด งวดละเท่าๆ กันก็ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ออก กฎกระทรวงการผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 มีสาระสำคัญดังนี้    1. เงินภาษีขั้นต่ำที่จะมีสิทธิผ่อนชำระได้ต้องมีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจึงจะขอผ่อนชำระภาษีเป็นงวดได้    2. กรณีประสงค์ผ่อนชำระภาษีในปีใด ให้ยื่นหนังสือขอผ่อนชำระภาษีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายในเดือนเมษายนของปี    3. การผ่อนชำระ ให้แบ่งชำระได้ไม่เกิน 3 งวด งวดละเท่าๆ กัน ภายในกำหนดเวลาดังนี้        (1) งวดที่ 1 ชำระภายในเดือนเมษายนของปี        (2) งวดที่ 2 ชำระภายในเดือนพฤษภาคมของปี        (3) งวดที่ 3 ชำระภายในเดือนมิถุนายนของปี    นอกจากนี้ มาตรา 52 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า กรณีผู้เสียภาษีไม่ชำระภาษีตามกำหนดผ่อนชำระ ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระ

ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รูปภาพ
   พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มาตรา 12 บัญญัติว่าในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมายให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐรับชำระภาษีแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นอาจได้รับส่วนลดหรือค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละสามของภาษีที่รับชำระ    กระทรวงมหาดไทยได้ออก กฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 141 ก/หน้า 5/25 ธันวาคม 2562 กำหนดให้ส่วนราชการที่รับชำระภาษีแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หักค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของอัตราภาษีที่รับชำระไว้แทน นั้น และให้ส่วนราชการนำส่งภาษีหลังหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป อ้างอิง กฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์) #นักเรียนกฎหมาย 26 ธันวาคม 2562

การถูกจำกัดสิทธิ เมื่อไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.

รูปภาพ
   ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ไม่ไปใช้สิทธิโดยมิได้แจ้งเหตุ หรือแจ้งเหตุแล้ว แต่มิใช่เหตุอันสมควร มาตรรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  พ.ศ. 2561 บัญญัติให้ผู้นั้นต้อง ถูกจำกัดสิทธิดังต่อไปนี้    1. ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    2. สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา    3. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่    4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา    5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    การจำกัดสิทธิดังกล่าว มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเล

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.

รูปภาพ
   คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปรากฏตามบทบัญญัติมาตรา 95 และมาตรา 96 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 31 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ดังนี้ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง    1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี    2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง    3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง      บุคคลที่มีลักษณะต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง ถูกจำกัดมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง    1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช    2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่    3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย    4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ #นักเรียนกฎหมาย 25 ธันวาคม 2562

กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ต้องขัง

รูปภาพ
   กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ต้องขัง ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 62 และมาตรา 63 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้    1. ต้องออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดว่าทรัพย์สินชนิดใดจะเป็นสิ่งของที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำ    2. กรณีทรัพย์สินที่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำได้ แต่มีปริมาณหรือจำนวนเกินกว่าที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์อนุญาต ต้องแจ้งญาติมารับคืนจากเจ้าพนักงานเรือนจำ ถ้าไม่มีผู้มารับภายในเวลาที่กำหนด อาจจำหน่ายแล้วมอบเงินให้แก่ผู้ต้องขังภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการจำหน่าย แต่ถ้าของนั้นมีสภาพเป็นของสดเสียง่าย ของอันตราย หรือโสโครก เจ้าพนักงานเรือนจำมีหน้าที่ต้องทำลาย    3. กรณีทรัพย์สินเป็นสิ่งของที่ไม่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำ ต้องแจ้งญาติมารับคืนจากเจ้าพนักงานเรือนจำ ถ้าไม่มีผู้มารับภายในเวลาที่กำหนด อาจจำหน่ายแล้วมอบเงินให้แก่ผู้ต้องขังภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการจำหน่าย แต่ถ้าของนั้นมีสภาพเป็นของสดเสียง่าย ของอันตราย หรือโสโครก เจ้าพนักงานเรือนจำมีหน้าที่ต้องทำลาย    4. การจำหน่ายและการทำลายสิ่งของตามข้อ 2 และ 3 ข้างต้น ต้องเป็นไปตามระเบียบกรมราชทัณฑ์    5.

การเยี่ยมผู้ต้องขังป่วย

รูปภาพ
   ปัจจุบัน การเยี่ยมผู้ต้องขังป่วย ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอกกับผู้ต้องขัง และการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำ พ.ศ. 2561 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป (นอกจากนี้ระเบียบฉบับนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนพิเศษ 271 ง/หน้า 3/1 พฤศจิกายน 2562)    หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเยี่ยมผู้ต้องขังป่วย เป็นไปตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ฯ หมวด 4 การเยี่ยมผู้ต้องขังป่วย ข้อ 23-25 ดังนี้    1. ผู้ต้องขังต้องเจ็บป่วยอาการหนัก และได้รับการรักษาตัวอยู่ในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์หรือสถานพยาบาลของเรือนจำ    2. ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ หรือผู้บัญชาการเรือนจำ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจำ อนุญาตให้ผู้ต้องขังได้รับการเยี่ยมจากญาติ โดยพิจารณาจากรายงานของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำสถานพยาบาล    3. ให้เยี่ยมได้ในระหว่างวันและเวลาราชการตามปกติ    4. ให้จัดเยี่ยมภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์หรือสถานพยาบาลของเรือนจำหรือสถานที่อื่นใดอันสมควร    5. สถานที่เยี่ยมผู้

การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศของข้าราชการพลเรือนสามัญ

รูปภาพ
   พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 83 (8) บัญญัติให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ซึ่ง ก.พ. โดยได้รับอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงได้ออกกฎ ก.พ. ว่าด้วยการกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2553 เป็นต้นไป    กฎ ก.พ. ดังกล่าว กำหนดว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำการประการใดประการหนึ่งดังต่อไปนี้ ต่อข้าราชการด้วยกัน หรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในหรือนอกสถานที่ราชการ โดยผู้ถูกกระทำมิได้ยินยอมต่อการกระทำ หรือทำให้ผู้ถูกกระทำเดือดร้อนรำคาญ ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ    1. กระทำการด้วยการสัมผัสทางกายที่มีลักษณะส่อไปในทางเพศ เช่น การจูบ การโอบกอด การจับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นต้น    2. กระทำการด้วยวาจาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ร่างกาย พูดหยอกล้อ พูดหยาบคาย เป็นต้น    3. กระทำการด้วยอากัปกิริยาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น การใช้สายตาลวนลาม การทำสัญญาณหรือสัญลักษณ์ใดๆ เป็นต้น    4. การแสดงหรือสื

การรักษาจรรยาข้าราชการ

รูปภาพ
   พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 78 บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้ เพื่อให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องต่อไปนี้    1. การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง    2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ    3. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้    4. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม    5. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน    ทั้งนี้ ส่วนราชการจะต้องกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานในส่วนราชการนั้น ตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการที่ไม่ใช่ความผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจะต้องตักเตือน แล้วนำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา #นักเรียนกฎหมาย 21 ธันวาคม 2562

รูปภาพกฎหมาย (หน้า 1)

รูปภาพ
รูปภาพ  หน้า 1  ,  หน้า 2  ,  หน้า 3  ,  หน้า 4  ,  หน้า 5  ,  หน้า 6   ,  หน้า 7  ,  หน้า 8  ,  หน้า 9  ,  หน้า 10