จอดรถโดยฝ่าฝืนกฎหมายจราจรทางบก
การฝ่าฝืนกฎหมายจราจรทางบกเรื่องนี้ เป็นการวินิจฉัยปัญหาทางกฎหมาย ว่าถนนที่อยู่ภายในสถานีตำรวจ ถือว่าเป็น "ทาง" ตามกฎหมายจราจรทางบกหรือไม่ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2943/2562 ซึ่งวินิจฉัยว่า
แม้ถนนที่เกิดเหตุจะอยู่ในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานีอันเป็นสถานที่ราชการ แต่โดยลักษณะงานของสถานีตำรวจย่อมเป็นสถานที่สำหรับประชาชนไปติดต่อราชการโดยงานหลัก คือ การรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
ดังนั้น สภาพทางในสถานีตำรวจที่เกิดเหตุ จึงมีไว้สำหรับประชาชนใช้สัญจร ทางที่เกิดเหตุจึงเป็นทางตามความหมายของทาง ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (2) ซึ่งบัญญัติความหมายของคำว่า "ทาง" หมายถึง ทางเดินรถ ช่องเดินรถที่ประชาชนใช้ในการจราจร
เมื่อจำเลยจอดรถบนทางดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร"
ดังนั้น การที่จำเลยจอดรถทางด้านขวาของทางเดินรถและหันหัวรถสวนทางกับรถคันอื่น จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว
อ้างอิง
อ้างอิง
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
มาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้
(1) ...
(2) “ทาง” หมายความว่า ทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วมทางแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่ไม่รวมไปถึงทางรถไฟ
มาตรา 54 บัญญัติว่า "การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา 37 หรือไฟสัญญาณตามมาตรา 38 ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถได้เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร
ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร*กำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่องเดินรถประจำทางนั้น"
มาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้
(1) ...
(2) “ทาง” หมายความว่า ทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วมทางแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่ไม่รวมไปถึงทางรถไฟ
มาตรา 54 บัญญัติว่า "การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา 37 หรือไฟสัญญาณตามมาตรา 38 ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถได้เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร
ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร*กำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่องเดินรถประจำทางนั้น"
#นักเรียนกฎหมาย
9 ธันวาคม 2562
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น