กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ต้องขัง
1. ต้องออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดว่าทรัพย์สินชนิดใดจะเป็นสิ่งของที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำ
2. กรณีทรัพย์สินที่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำได้ แต่มีปริมาณหรือจำนวนเกินกว่าที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์อนุญาต ต้องแจ้งญาติมารับคืนจากเจ้าพนักงานเรือนจำ ถ้าไม่มีผู้มารับภายในเวลาที่กำหนด อาจจำหน่ายแล้วมอบเงินให้แก่ผู้ต้องขังภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการจำหน่าย แต่ถ้าของนั้นมีสภาพเป็นของสดเสียง่าย ของอันตราย หรือโสโครก เจ้าพนักงานเรือนจำมีหน้าที่ต้องทำลาย
3. กรณีทรัพย์สินเป็นสิ่งของที่ไม่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำ ต้องแจ้งญาติมารับคืนจากเจ้าพนักงานเรือนจำ ถ้าไม่มีผู้มารับภายในเวลาที่กำหนด อาจจำหน่ายแล้วมอบเงินให้แก่ผู้ต้องขังภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการจำหน่าย แต่ถ้าของนั้นมีสภาพเป็นของสดเสียง่าย ของอันตราย หรือโสโครก เจ้าพนักงานเรือนจำมีหน้าที่ต้องทำลาย
4. การจำหน่ายและการทำลายสิ่งของตามข้อ 2 และ 3 ข้างต้น ต้องเป็นไปตามระเบียบกรมราชทัณฑ์
5. ทรัพย์สินของผู้ต้องขังที่ตกค้างอยู่ในเรือนจำ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้
(1) ผู้ต้องขังหลบหนีพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่หลบหนี
(2) ผู้ต้องขังถูกปล่อยตัวไปแล้ว และไม่มารับทรัพย์สิน เงินรางวัล หรือเงินทำขวัญของตนไป ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการออกอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 บัญญัติให้อนุบัญญัติที่ออกตามกฎหมายเก่า ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีการออกอนุบัญญัติใหม่ขึ้นมาใช้บังคับ
อ้างอิง พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
อ้างอิง พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
#นักเรียนกฎหมาย
24 ธันวาคม 2562
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น