สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปโดยความตายของผู้กระทำผิด


   จำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โทษตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันระงับไปตามมาตรา 38 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) 

   เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายยื่นคำร้อง ขอคืนค่าปรับที่จำเลยชำระต่อศาลตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องคืนเงินค่าปรับให้แก่ผู้ร้อง ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษากลับ ให้คืนเงินค่าปรับ 10,000 บาท ที่จำเลยนำมาชำระต่อศาลชั้นต้นแก่ผู้ร้องในฐานะทายาทของจำเลย 

อ้างอิง
- ประมวลกฎหมายอาญา
  มาตรา 38 บัญญัติว่า "โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด" 

- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  มาตรา 39 บัญญัติว่า "สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้
  (1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
  (2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
  (3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37
  (4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
  (5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น
  (6) เมื่อคดีขาดอายุความ
  (7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ"

- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10488/2558
#นักเรียนกฎหมาย
8 ธันวาคม 2562

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542