ผู้มีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการ และอัตราค่าปรับ
ข้อ 1 ให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองมีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ เว้นแต่ในกรณีที่เอกชนเป็นผู้ใช้อำนาจทำคำสั่งทางปกครอง ให้อำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการเป็นของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้มอบอำนาจหรือผู้กำกับดูแลเอกชนนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ 2 ให้เจ้าหน้าที่ตามข้อ 1 มีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการ ดังนี้
(1) รัฐมนตรี กำหนดได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อวัน
(2) คณะกรรมการตามกฎหมาย กำหนดได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อวัน
(3) ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดี กำหนดได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อวัน
(4) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กำหนดได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อวัน
(5) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด กำหนดได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน
(6) นายอำเภอ กำหนดได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน
(7) ผู้บริหารท้องถิ่น กำหนดได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน
(8) ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ กำหนดได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน
(9) ผู้บริหารหน่วยงานอื่นของรัฐ กำหนดได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน
(10) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง กำหนดได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อวัน
(11) นายกสภาวิชาชีพ กำหนดได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน
(12) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้มอบอำนาจหรือผู้กำกับดูแลเอกชน กำหนดได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน สำหรับกรณีที่เอกชนเป็นผู้ใช้อำนาจทำคำสั่งทางปกครอง
(12) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้มอบอำนาจหรือผู้กำกับดูแลเอกชน กำหนดได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน สำหรับกรณีที่เอกชนเป็นผู้ใช้อำนาจทำคำสั่งทางปกครอง
ข้อ 3 ในกรณีที่ไม่มีการชำระค่าปรับบังคับการ ให้เจ้าหน้าที่ตามข้อ 1 แจ้งให้ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองชำระค่าปรับบังคับการทุก 15 วัน
อ้างอิง กฎกระทรวงกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการ พ.ศ. 2562 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
#นักเรียนกฎหมาย
12 ธันวาคม 2562
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น