ผู้ยืมต้องรับผิดเมื่อทำผิดหน้าที่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7416/2548)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม เฉพาะแต่ในกรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยข้อกฎหมายในประเด็นดังกล่าว ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถที่ยืมไปเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ อันเป็นการใช้ทรัพย์ที่ยืมเป็นปกติตามที่ได้ขออนุญาตโจทก์ ทั้งเหตุรถเฉี่ยวชนกันไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 หากแต่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ยืม จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7416/2548
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 643 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น