ลูกจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
"ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร" เป็นนิยามความหมายที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นอกจากนี้ศาลฎีกาได้มีแนวคำวินิจฉัยให้ความหมายของ "ลูกจ้าง" ไว้เพิ่มเติม ซึ่งพอจะสรุปความหมายโดยรวมของลูกจ้างได้ดังนี้
1. นายจ้างจะเป็นคนธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
แต่ลูกจ้างจะต้องเป็นคนธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะเป็นลูกจ้างไม่ได้
หากเป็นสัญญาจ้างระหว่างนิติบุคคลกับนิติบุคคล ถือเป็นสัญญาจ้างบริการหรือสัญญาประเภทอื่น ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายนี้
2. ลูกจ้างจะเรียกชื่อว่าอย่างไรก็ได้ เช่น
พนักงาน
ผู้รับงาน
ผู้ร่วมประกอบกิจการ
3. ลูกจ้างหมายรวมทุกประเภท เช่น
ลูกจ้างทดลองงาน
ลูกจ้างชั่วคราว
ลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างที่กำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ลูกจ้างทำงานไม่เต็มเวลา Part-time employee
ลูกจ้างสัญญาจ้างพิเศษ
ลูกจ้างทำงานบ้าน
4. ลูกจ้างดังกล่าวจะต้งออยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างด้วย
หากมีอิสระ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบ ก็มิใช่ลูกจ้างตามกฎหมายนี้
ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2548 วินิจฉัยว่า ผู้ถือหุ้นเข้าบริหารงานโดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จะได้รับเงินเดือนและหักส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ก็ไม่มีฐานะเป็นลูกจ้าง
อ้างอิง
ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ. วิชากฎหมายแรงงาน รวมคำบรรยายเนติบัณฑิต ภาค 1 สมัย 72 ปีการศึกษา 2562 เล่ม 1
#นักเรียนกฎหมาย
1 ธันวาคม 2562
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น