แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 57 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการใดๆ อันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) กีดกันการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นอย่างไม่เป็นธรรม
(2) ใช้อำนาจตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าอย่างไม่เป็นธรรม
(3) กำหนดเงื่อนไขทางการค้าอันเป็นการจำกัดหรือขัดขวางการประกอบธุรกิจของผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรม
(4) กระทำการในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้ออกประกาศกำหนดแนวทางในการพิจารณาเกี่ยวกับการการปฏิบัติทางการค้าของ "แฟรนไชส์ซอร์" (Franchisor ผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์) ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่แฟรนไชส์ซี (Franchisee ผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์) ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป ดังนี้
1. การกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการจำกัดสิทธิของแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น
(1) การกำหนดให้แฟรนไชส์ซี ต้องซื้อสินค้าหรือบริการอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการแฟรนไชส์หรือสินค้าหรือบริการประกอบแฟรนไชส์จากแฟรนไชส์ซอร์ หรือจากผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเท่านั้น
(2) การกำหนดโควตาให้แฟรนไชส์ซี ต้องซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในปริมาณที่สูงกว่าความต้องการใช้จริงและห้ามคืนสินค้าหรือวัตถุดิบส่วนเกิน
2. การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้แฟรนไชส์ซี ต้องปฏิบัติภายหลังการลงนามในสัญญาร่วมกันแล้ว เช่น กำหนดให้แฟรนไชส์ซี ซื้อสินค้าหรือบริการอื่น หรือกระทำการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ เป็นต้น เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควรทางธุรกิจ หรือมีความจำเป็นในการรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งนี้การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมดังกล่าวจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร
3. การห้ามแฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการรายอื่นที่ขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันและราคาถูกกว่า โดยให้ซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์หรือจากผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการที่แฟรนไชส์ซอร์ กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
4. การห้ามแฟรนไชส์ซีขายลดราคาสำหรับสินค้าที่เน่าเสียง่าย (Perishable Goods) หรือใกล้หมดอายุโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
5. การกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Discrimination)
6. การกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์นอกเหนือจากการรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานของแฟรนไชส์ซอร์ตามสัญญา
อ้างอิง
ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
(2) การกำหนดโควตาให้แฟรนไชส์ซี ต้องซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในปริมาณที่สูงกว่าความต้องการใช้จริงและห้ามคืนสินค้าหรือวัตถุดิบส่วนเกิน
2. การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้แฟรนไชส์ซี ต้องปฏิบัติภายหลังการลงนามในสัญญาร่วมกันแล้ว เช่น กำหนดให้แฟรนไชส์ซี ซื้อสินค้าหรือบริการอื่น หรือกระทำการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ เป็นต้น เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควรทางธุรกิจ หรือมีความจำเป็นในการรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งนี้การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมดังกล่าวจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร
3. การห้ามแฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการรายอื่นที่ขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันและราคาถูกกว่า โดยให้ซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์หรือจากผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการที่แฟรนไชส์ซอร์ กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
4. การห้ามแฟรนไชส์ซีขายลดราคาสำหรับสินค้าที่เน่าเสียง่าย (Perishable Goods) หรือใกล้หมดอายุโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
5. การกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Discrimination)
6. การกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์นอกเหนือจากการรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานของแฟรนไชส์ซอร์ตามสัญญา
อ้างอิง
ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)
#นักเรียนกฎหมาย
7 ธันวาคม 2562
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น