แนวข้อสอบ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
ก. ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ข. คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีหน้าที่และอำนาจกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ค. พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับทั่วไปจนกว่าจะถูกยกเลิก
ง. ต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทุก 2 ปี
2. ข้อใดต่อไปนี้มีความหมายสอดคล้องกับ "พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา"
ก. พื้นที่ปฏิรูปการศึกษา Thailand 4.0
ข. พื้นที่พัฒนาความรู้และเจตคติของผู้เรียน
ค. พื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา
ง. พื้นที่บริหารจัดการสถานศึกษานำร่อง
3. ข้อใดมิใช่วัตถุประสงค์การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ก. ให้อิสระสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ
ข. ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
ค. พัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ง. ส่งเสริมการจัดการศึกษาแนวใหม่
4. พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก. ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 เป็นต้นไป
ข. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป
ค. ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
5. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือของเอกชน ที่อยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอนุมัติให้เป็นสถานศึกษานำร่อง คือความหมายตามบทนิยามใด
ก. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา
ค. สถานศึกษานำร่อง
ง. สถานศึกษา Partnership School
6. ผู้ใดมีอำนาจกำหนดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ก. คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ข. คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. คณะรัฐมนตรี
7. ขั้นตอนการเสนอให้จัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ถูกต้องที่สุด คือข้อใด
ก. คณะผู้เสนอ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพิจารณาความเหมาะสม
ข. คณะผู้เสนอ เสนอต่อภาคีเครือข่ายการศึกษา
ค. คณะผู้เสนอ เสนอต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเพื่อพิจารณาความเหมาะสม
ง. ถูกทุกข้อ
8. ข้อใดเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ก. คำนึงถึงความพร้อม และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
ข. โอกาสที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ค. คำนึงถึงผลการดำเนินการที่ผ่านมาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอื่นที่มีการจัดตั้งอยู่ก่อนแล้ว
ง. ถูกทุกข้อ
9. คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะการเสนอต้องเสนอโดยคณะผู้เสนอเท่านั้น
ข. ไม่ได้ เพราะไม่ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
ค. ได้ กรณีจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
ง. ได้ เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเท่านั้น
10. ประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รองนายกรัฐมนตรี
ค. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านการศึกษา
ง. นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
เฉลย
1. ตอบ ข. ดูมาตรา 20 (1) เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการขับเคลื่อนโดยตรง
2. ตอบ ค. ดูมาตรา 3 นิยามคำว่า "พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา" หมายความว่า พื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา
3. ตอบ ง. ดูมาตรา 5 (2) (3) (4)
4. ตอบ ข. ดูมาตรา 2 พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 56 ก/หน้า 102/30 เมษายน 2562 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
5. ตอบ ค. ดูมาตรา 3 นิยามคำว่า "สถานศึกษานำร่อง"
6. ตอบ ง. ดูมาตรา 6 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
7. ตอบ ก. ดูมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ให้คณะผู้เสนอ...เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
8. ตอบ ง. ดูมาตรา 6 วรรคสอง
9. ตอบ ค. โดยหลักเป็นหน้าที่ของคณะผู้เสนอ อย่างไรก็ดี มาตรา 9 ให้อำนาจคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มได้ กรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
10. ตอบ ง. ดูมาตรา 10 (1)
#นักเรียนกฎหมาย
17 พฤศจิกายน 2562
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น