แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ก. เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ข. เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ค. เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ง. เพื่อปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
ข้อ 2. ในวาระเริ่มแรก แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการมีระยะเวลากี่ปีตามกฎหมายใหม่
ก. 2 ปี
ข. 3 ปี
ค. 5 ปี
ง. 6 ปี
ข้อ 3. แผนปฏิบัติราชการตามข้อ 2. มีห้วงระยะเวลาตามข้อใด
ก. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ข. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ค. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ง. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
ข้อ 4. การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ เป็นความหมายตามข้อใด
ก. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับตอบสนองความต้องการ
ข. ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ค. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ง. การบริหารราชการแบบบูรณาการ
ข้อ 5. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
ก. วันที่ 1 พฤษภาคม 2562
ข. วันที่ 1 มิถุนายน 2562
ค. วันที่ 1 กรกฎาคม 2562
ง. วันที่ 1 สิงหาคม 2562
ข้อ 6. ส่วนราชการจะต้องเสนอแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้บุคคลใดให้ความเห็นชอบ
ก. ปลัดกระทรวง
ข. รัฐมนตรี
ค. สำนักงบประมาณ
ง. คณะรัฐมนตรี
ข้อ 7. กรณีตามข้อใดซึ่งสำนักงบประมาณมีอำนาจพิจารณาไม่จัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการ
ก. ส่วนราชการมิได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ข. ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการ
ค. รัฐมนตรีไม่เห็นชอบกับภารกิจที่ส่วนราชการเสนอ
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 8. รายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีจะต้องเสนอต่อบุคคลใด
ก. รัฐมนตรี
ข. คณะรัฐมนตรี
ค. ก.พ.ร.
ง. นายกรัฐมนตรี
ข้อ 9. กรณีนายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการให้ส่วนราชการสรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีนั้น มีวัตถุประสงค์ตามข้อใด
ก. ตรวจสอบ
ข. ถ่วงดุล
ค. กำกับดูแล
ง. กำหนดนโยบาย
ข้อ 10. บุคคลใดรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรี
ค. เลขาธิการ ก.พ.ร.
ง. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ข้อ 11. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการสั่งราชการ
ก. โดยปกติทำเป็นคำสั่ง
ข. โดยปกติสั่งราชการด้วยวาจา
ค. โดยปกติทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ง. โดยปกติสั่งด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้
ข้อ 12. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ก. การประเมินความคุ้มค่าให้คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะพึงได้รับ
ข. ประโยชน์ทางสังคมซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ย่อมมิใช่ความคุ้มค่า
ค. ในการจัดซื้อจัดจ้างส่วนราชการไม่ต้องถือราคาต่ำสุดเสมอไป
ง. กรณีที่ส่วนราชการไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการจัดซื้อจัดจ้างโดยต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์การใช้งานเป็นสำคัญ
ข้อ 13. กรณีส่วนราชการจะปฏิบัติภารกิจใดจะต้องได้รับอนุญาตจากส่วนราชการอื่นตามกฎหมายนั้น ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาตจะต้องแจ้งผลการพิจารณาภายในกี่วัน
ก. 7 วัน
ข. 15 วัน
ค. 30 วัน
ง. 60 วัน
ข้อ 14. จากคำถามในข้อ 13 กรณีเรื่องใดกฎหมายกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาเกินกว่านั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต จะต้องประกาศกำหนดระยะเวลาการพิจารณา
ข. ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต จะต้องลดเวลาการพิจารณาลง
ค. ไม่ต้องประกาศกำหนดหรือลดเวลาการพิจารณาแต่อย่างใด เพราะระยะเวลาจะต้องยึดตามกฎหมายเป็นหลัก
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ข้อ 15. จากข้อ 13 และข้อ 14 กรณีส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต ไม่ได้ดำเนินการให้เสร็จจนเกิดความเสียหายขึ้น บทสันนิษฐานของกฎหมายคือข้อใด
ก. ให้ถือว่าข้าราชการที่เกี่ยวข้องประมาทเลินเล่อ
ข. ให้ถือว่าหัวหน้าส่วนราชการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ค. ให้ถือว่าหัวหน้าส่วนราชการประมาทเลินเล่อ
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง
ข้อ 16. การดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ เป็นเป้าหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีด้านใด
ก. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก
ข. ประชาชนได้รับการตอบสนองความต้องการ
ค. ทั้งข้อ ก. และ ข.
ง. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข้อ 17. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
ก. วันที่ 9 ตุลาคม 2546
ข. วันที่ 10 ตุลาคม 2546
ค. วันที่ 9 ตุลาคม 2547
ง. วันที่ 10 ตุลาคม 2547
ข้อ 18. หน่วยงานใด ถือเป็นส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ก. หน่วยงานในกำกับของกระทรวง
ข. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติ
ค. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกา
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ 19. "การกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จ งบประมาณ และเผยแพร่ให้ทราบทั่วกัน" ถือเป็นหลักเกณฑ์การบริหารราชการเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. ประโยชน์สุด
ข. อำนวยความสะดวก
ค. ผลสัมฤทธิ์
ง. ประสิทธิภาพ
ข้อ 20. ผู้ใดมีหน้าที่จัดให้มีศูนย์บริการร่วมในกระทรวง
ก. ปลัดกระทรวง
ข. หัวหน้ากลุ่มภารกิจ
ค. ผู้ตรวจราชการกระทรวง
ง. ผู้ตรวจราชการกรม
ข้อ 21. การกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ การปฏิบัติราชการ จัดอยู่ในเป้าหมายใด
ก. ประโยชน์สุขของประชาชน
ข. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
ค. ประชาชนได้รับการตอบสนองความต้องการ
ง. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
ข้อ 22. การกระจายอำนาจการตัดสินใจตามข้อ 21 มิได้มุ่งผลในด้านใด
ก. สะดวก
ข. รวดเร็ว
ค. คุ้มค่า
ง. ไม่มีข้อถูก
ข้อ 23. การยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจเป็นอำนาจของบุคคลใดให้ความเห็นชอบ
ก. ก.พ.ร.
ข. รมต.
ค. ครม.
ง. กพ.
ข้อ 24. เหตุผลและความจำเป็นในข้อใดที่ใช้ประกอบการจัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจลักษณะเดียวกันกับส่วนราชการที่มีการยุบ เลิก โอน หรือรวมส่วนราชการไปแล้วขึ้นใหม่
ก. รักษาความมั่นคงของรัฐ
ข. รักษาความมั่นคงของเศรษฐกิจ
ค. รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ25. จากข้อ 24 จะต้องได้รับความเห็นชอบจากบุคคลใด
ก. ก.พ.ร.
ข. สำนักงบประมาณ
ค. รัฐมนตรี
ง. คณะรัฐมนตรี
ข้อ 26. บทบัญญัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แบ่งออกเป็นกี่หมวด
ก. 7 หมวด
ข. 8 หมวด
ค. 9 หมวด
ง. 10 หมวด
ข้อ 27. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับศูนย์บริการร่วม
ก. การยื่นคำร้องต่อศูนย์บริการร่วม ถือว่าเป็นการยื่นต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายแล้ว
ข. ให้ประชาชนติดต่อเจ้าหน้าที่เพียงแห่งเดียว
ค. มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 28. กรณีส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะให้ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย ไม่เห็นด้วยกับคำเสนอแนะ จะต้องเสนอเรื่องให้บุคคลใดพิจารณาวินิจฉัย
ก. คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
ข. คณะกรรมการกฤษฎีกา
ค. คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
ง. คณะรัฐมนตรี
ข้อ 29. กรณีส่วนราชการมิได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใดไว้ หรือกำหนดไว้แต่เป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร กฎหมายให้อำนาจบุคคลสามารถกำหนดเวลาแล้วเสร็จให้ส่วนราชการนั้นปฏิบัติได้
ก. กพ.
ข. กพค.
ค. ก.พ.ร.
ง. ครม.
ข้อ 30. ส่วนราชการมีหน้าที่ตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการตามที่ได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน ภายในกี่วัน
ก. 7 วัน
ข. 15 วัน
ค. 30 วัน
ง. 60 วัน
ข้อ 31. ข้อยกเว้นในข้อใด ถือเป็นการปฏิบัติราชการ
ก. คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล
ข. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค. รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 32. ปัจจัยใดอาจทำให้ส่วนราชการได้รับการจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบ
ก. ให้บริการที่มีคุณภาพ
ข. สร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน
ค. บูรณาการการทำงาน
ง. ประหยัดรายจ่ายได้สูงสุด
ข้อ 33. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใด
ก. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ง. เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ข้อ 34. จากข้อ 33 บุคคลใดมีหน้าที่ดูแลให้ความช่วยเหลือในการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ก. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ข. กระทรวงมหาดไทย
ค. ก.พ.ร.
ง. ครม.
ข้อ 35. แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อบริการประชาชนขับเคลื่อนโดยองค์กรใด
ก. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
ข. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ค. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ง. สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข้อ 36. วัตถุประสงค์หลักของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีกี่ประการ
ก. 5
ข. 6
ค. 7
ง. 8
ก. 5
ข. 6
ค. 7
ง. 8
ข้อ 37. "ข้าราชการมีหน้าที่คอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจ ของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ" จากข้อความดังกล่าว ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. เป็นแนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
ค. เป็นการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ง. เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา
ก. เป็นแนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
ค. เป็นการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ง. เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา
ข้อ 38. ข้อใดมิใช่วิธีการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ก. สร้างวิสัยทัศน์ของข้าราชการ
ข. สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
ค. ประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ง. ผิดทุกข้อ
ก. สร้างวิสัยทัศน์ของข้าราชการ
ข. สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
ค. ประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ง. ผิดทุกข้อ
ข้อ 39. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ก. แต่งตั้งกรรมการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเมื่อมีความจำเป็นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ข. มติคณะกรรมการมีผลผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการ แม้จะไม่เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม
ค. กรณีมีความเห็นแตกต่างกันสองฝ่าย ให้บันทึกความเห็นของคณะกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
ง. ถูกทุกข้อ
ก. แต่งตั้งกรรมการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเมื่อมีความจำเป็นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ข. มติคณะกรรมการมีผลผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการ แม้จะไม่เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม
ค. กรณีมีความเห็นแตกต่างกันสองฝ่าย ให้บันทึกความเห็นของคณะกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 40. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ก. ต้องพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม
ข. โดยหลักจะต้องเปิดเผยรายการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้นๆ
ค. หากจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสำคัญ จึงไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการซื้อเสมอไป
ง. ถูกทุกข้อ
ก. ต้องพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม
ข. โดยหลักจะต้องเปิดเผยรายการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้นๆ
ค. หากจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสำคัญ จึงไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการซื้อเสมอไป
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย
ข้อ 1 ตอบ ข. การจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ กำหนดไว้ในมาตรา 21 หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ข้อ 2 ตอบ ข. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 9 กำหนดว่า ในวาระเริ่มแรก การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ 5 ปี ให้จัดทำเป็นแผน 3 ปี โดยมีห้วงระยะเวลาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ข้อ 3. ตอบ ข. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 9 กำหนดว่า ในวาระเริ่มแรก การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ 5 ปี ให้จัดทำเป็นแผน 3 ปี โดยมีห้วงระยะเวลาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ข้อ 4. ตอบ ค. ดูมาตรา 7
ข้อ 5. ตอบ ก. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 56 ก/หน้า 253/30 เมษายน 2562 โดยมาตรา 2 กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 6. ตอบ ข. รัฐมนตรี ตามมาตรา 16 วรรคสอง
ข้อ 7. ตอบ ง. ถูกทุกข้อ ตามมาตรา 16 วรรคสาม
ข้อ 8. ตอบ ข. คณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 16 วรรคท้าย
ข้อ 9. ตอบ ง. มาตรา 19 เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
ข้อ 10. ตอบ ก. นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 5
ข้อ 11. ตอบ ค. โดยปกติทำเป็นลายลักษณ์อักษร ตามมาตรา 26
ข้อ 12. ตอบ ข. ความคุ้มค่า รวมถึงกรณีที่ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย ตามมาตรา 22 วรรคท้าย
ข้อ 13. ตอบ ข. 15 วัน ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง
ข้อ 14. ตอบ ก. ต้องประกาศกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ ตามมาตรา 24 วรรคสอง
ข้อ 15. ตอบ ข. ให้ถือว่า หัวหน้าส่วนราชการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ตามมาตรา 24 วรรคท้าย
ข้อ 16. ตอบ ง. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง
ข้อ 17. ตอบ ข. วันที่ 10 ตุลาคม 2546 ตามมาตรา 2
ข้อ 18. ตอบ ก. ตามมาตรา 4 "ส่วนราชการ"
ข้อ 19. ตอบ ง. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามมาตรา 20
ข้อ 20. ตอบ ก. ปลัดกระทรวง ตามมาตรา 30
ข้อ 21. ตอบ ข. ตามมาตรา 27
ข้อ 22. ตอบ ค. ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง
ข้อ 23. ตอบ ค. ครม. ตามมาตรา 33 วรรคสาม
ข้อ 24. ตอบ ง. ตามมาตรา 34
ข้อ 25. ตอบ ก. ก.พ.ร. ตามมาตรา 34
ข้อ 26. ตอบ ค. 9 หมวด
ข้อ 27. ตอบ ง. ตามมาตรา 30 และมาตรา 31
ข้อ 28. ตอบ ง. คณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 36 วรรคท้าย
ข้อ 29. ตอบ ค. ก.พ.ร. ตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง
ข้อ 30. ตอบ ข. 15 วัน ตามมาตรา 38
ข้อ 31. ตอบ ง. ถูกทุกข้อ ตามมาตรา 43
ข้อ 32. ตอบ ก. ให้บริการที่มีคุณภาพ ตามมาตรา 48
ข้อ 33. ตอบ ก. ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง
ข้อ 34. ตอบ ข. กระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา 52 วรรคท้าย
ข้อ 35. ตอบ ค. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ตามมาตรา 29 วรรคท้าย ประกอบกับมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2562)
ข้อ 36. ตอบ ค. 7 ประการ ตามมาตรา 6
ข้อ 37. ตอบ ค. มาตรา 8 (4) การรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้รับบริการ มิใช่เรื่องการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ข้อ 38. ตอบ ง. มาตรา 11
ข้อ 39. ตอบ ง. มาตรา 25
ข้อ 40. ตอบ ง. มาตรา 23 และมาตรา 44
***ขอให้ประสบความสำเร็จในการสอบครับ***
ขอบคุณนะคะ
ตอบลบยินดีครับผม
ลบข้ออนุญาตนะครับผมมีข้อสงสัยและขอแสดงความคิดเห็นนะครับ
ตอบลบข้อ 15 น่าจะตอบ ง.หรือเปล่าครับ เพราะตาม มาตรา 24 วรรคท้าย กำหนดไว้ว่า ...ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ขอบคุณมากๆ ครับผม ที่ร่วมกันแสดงความเห็น ผมขอชี้แจงอย่างนี้ครับ มาตรา 24 วรรคท้าย ให้ถือว่า "ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" ตัวเลือกในข้อ ง. เป็นเพียง "ประมาทเลินเล่อ" ธรรมดา ไม่ถึงขั้นร้ายแรง ตามคำถามนี้ จึงต้องตอบข้อ ข. ครับ
ลบขอบคุณมากนะครับ
ตอบลบยินดีครับ ขอบคุณมากๆ ที่ให้ความสนใจครับผม
ลบอยากให้ทำพวก พรบ อื่น ด้วยครับ
ตอบลบได้ครับ รอติดตามนะครับ ขอบคุณมากๆ ที่ให้ความสนใจครับ
ลบข้อ 2 ต้องตอบ 5 ปี นะคะ ตามมาตราที่16. พรฎ.แก้ไขล่าสุดฉบับที่2. พ.ศ.2562 ว่าให้ส่วนราชดารจัดทำเป็นแผน5ปี แรกเริ่มอ่ะ 3 ปี 2563-2565. หลังจากนั้นก็ปรับเป็น 5 ปี ถ้าคำตอบบอก 3 ปี ตามพรฎ.ใหม่ที่แก้ มันก็ไม่สอดคล้องกับยุทธศาตร์ชาตินะ
ตอบลบขอบคุณมากๆ ครับ เนื่องจากคำถามข้อนี้ไม่ชัดเจน ส่วนเหตุผลในเฉลยถูกต้องตรงกันครับ ว่าแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ 5 ปี ยกเว้น 3 ปีงบประมาณแรก ให้เป็นแผน 3 ปี ผมจึงได้ปรับแก้คำถามให้ชัดเจนขึ้น ว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นวาระเริ่มแรก ต้องจัดทำแผน 3 ปี ครับ (สำหรับในอนาคต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป จึงปรับเป็นแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี) ซึ่งคำถามในข้อ 3 จะสืบเนื่องจากข้อ 2 ครับ
ลบขอบคุณมากมายครับ
ตอบลบยินดีครับๆ
ลบข้อ 2. ถ้าใช้คำถามว่า ในวาระเริ่มแรก แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการมีระยะเวลากี่ปี (ตามกฎหมายใหม่) จะชัดเจนกว่า. และจะสอดคล้องกับคำถาม ข้อ 3.ด้วยครับ
ตอบลบ*แต่ถ้าคำถามที่ ถามว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีระยะเวลากี่ปีนั้น คำตอบคือ 1 ปีครับ(1ต.ค. 62-30 ก.ย.63) เพราะไม่ว่าจะเป็นกฎหมายใหม่หรือเก่า ถ้าระบุชัดเจนว่าปีงบประมาณใด ก็มีเวลา 1 ปีครับ.
ขอบคุณครับผม
ลบขอบพระคุณผู้จัดทำเป็นอย่างสูง ช่วยให้การอ่านง่ายขึ้นสำหรับคนไม่มีเวลา ขอพรพระรัตนตรัย อวยพรให้ท่านเป็นผู้มีสุขภาพเเข็งเเรงเเละประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไปค่ะ ขออนุญาตนำการเเบ่งปันนี้ส่งมอบให้กับผู้ที่เเสวงหาความรู้ต่อไป :)
ตอบลบยินดีมาก ๆ ครับ :) ขอบคุณครับ
ลบเป็นข้อสอบที่ดีมากคะ มีคำอธิบายเฉลย ช่วยให้ผู้อ่านประเมินความรู้ตนเองได้ ด้วยความเคารพจึงขอขอบคุณผู้จัดทำ
ตอบลบเป็นอย่างสูง
ยินดีครับผม
ลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบยินดีครับ^^
ลบขอบคุณค่า
ตอบลบขอบคุณนะคะจะไว้ทบทวนหลังอ่าน
ตอบลบยินดีครับ ขอให้โชคดีในการสอบครับ
ลบขอบคุณมากๆเลยค่ะ สำหรับแนวข้อสอบ
ตอบลบยินดีครับ ขอบคุณครับ
ลบสามารถนำไปเผยแพร่ได้ไหมครับ
ตอบลบเผยแพร่ได้เลยครับ ยินดีครับ
ลบออกข้อสอบดีมากค่ะ
ตอบลบขอบคุณครับ
ลบขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบ