การใช้บังคับกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่บางประการไม่เหมาะสม ตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)


     คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) มีข้อสังเกตว่า เมื่อพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บัญญัติให้อาจมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำพระราชบัญญัติดังกล่าวไปใช้บังคับกับหน่วยงานทุกประเภท 

     กรณีจึงสมควรนำหลักเกณฑ์ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ทั้งฉบับ ไปใช้กับการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ทุกหน่วยงานโดยเสมอกันด้วย

     ดังนั้น การที่ข้อ 30 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กำหนดให้ใช้บังคับบทบัญญัติในหมวด 2 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก กับหน่วยงานของรัฐที่เป็นราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย 

     จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะทำให้การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐทั้งระบบไม่มีมาตรฐานเดียวกัน

     ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1703/2561 (คลิกดาวน์โหลดไฟล์)

#นักเรียนกฎหมาย
19 ตุลาคม 2562

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542