ขอบเขตสอบนิติกรและเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
12-30 พฤศจิกายน 2561 นี้ สำนักงานศาลยุติธรรมเปิดรับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการในสำนักงานศาลยุติธรรม ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ 20 อัตรา และตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ 5 อัตรา โดยแบ่งหลักสูตรและวิธีการสอบออกเป็น 3 ภาค คือ
1. ภาค ก. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป สอบข้อเขียนแบบปรนัย คะแนนเต็ม 200 คะแนน ดังนี้
1.1 วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย 150 คะแนน ประกอบด้วย
1.1.1 วิชาความสามารถทั่วไป 100 คะแนน เพื่อวัดความสามารถ
1) ด้านการคิดคำนวณ โดยทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณการแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณต่างๆ และ
2) ด้านเหตุผล โดยทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติหรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆ
1.1.2 วิชาภาษาไทย 50 คะแนน เพื่อวัดความสามารถ
1) ด้านความเข้าใจภาษา โดยทดสอบความสามารถในการอ่าน และการทำความเข้าใจกับบทความ หรือข้อความที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความหรือข้อความ รวมทั้งการสรุปความและตีความ และ
2) ด้านการใช้ภาษา โดยทดสอบความสามารถในการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา และการเรียงข้อความ
1.2 วิชาภาษาอังกฤษ 30 คะแนน เพื่อวัดความสามารถด้านการพูด เขียน อ่าน และฟังภาษาอังกฤษ และความเข้าใจสาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น
1.3 วิชาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 20 คะแนน เพื่อวัดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเบื้องต้น
***หากผู้สมัครรายใด เป็นผู้สอบผ่าน ภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. หรือของสำนักงานศาลยุติธรรม สามารถใช้หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน ภาค ก. ดังกล่าว แทนการสอบ ภาค ก. ครั้งนี้ได้
2. ภาค ข. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง สอบข้อเขียนแบบปรนัย คะแนนเต็ม 200 คะแนน
2.1 ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ
2.1.1 ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ
1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
3) กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน
4) ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
5) ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
2.1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติในตำแหน่งนิติกร
2.2 ตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ
2.2.1 ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ
1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
3) กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน
4) ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
5) ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
2.2.2 ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานธุรการทั่วไป และงานธุรการคดีของศาลยุติธรรม
2.2.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติในตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
3. ภาค ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง สอบสัมภาษณ์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
โดยการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะในงานของตำแหน่ง
เกณฑ์การตัดสิน ร้อยละ 60 ของการสอบแต่ละภาค
การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขัน ใช้คะแนนรวมจากภาค ข. และภาค ค. เท่านั้น และเรียงลำดับจากสูงสุดลงมาตามลำดับ ถ้าคะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้คะแนนภาค ค. มากกกว่า เป็นผู้อยู่ในลำดับที่ดีกว่า ถ้าได้คะแนน ภาค ค. เท่ากัน ให้ผู้ที่ชำระเงินค่าธรรมเนียมการสมัครสอบแข่งขันก่อน เป็นผู้อยู่ในลำดับที่ดีกว่า ถ้าเวลาในการชำระเงินยังคงเท่ากันอีก ให้ผู้ที่สมัครสอบแข่งขันก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่ดีกว่า บัญชีผู้สอบแข่งขันได้นี้ มีกำหนดอายุ 2 ปี
คลิก..ไฟล์ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน
#นักเรียนกฎหมาย
3 พฤศจิกายน 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น