องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 144 กำหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคล ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยมีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศในการบริหารงานบุคคล ดังนี้
(1) การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่ง และค่าตอบแทนหรือสิทธิและประโยชน์อื่นของเลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
(2) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน การถอดถอน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม สมรรถภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การดำเนินการสอบสวนทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษ และการอื่นใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับเลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงาน
(3) การรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการของสำนักงาน
(4) วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดราชการประจำปี
(5) การกำหนดเครื่องแบบและการแต่งเครื่องแบบของกรรมการ เลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
(6) การจ้างและการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือเป็นผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการของสำนักงาน รวมตลอดทั้งค่าจ้างหรือค่าตอบแทนอื่นให้แก่บุคคลดังกล่าว
(7) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่เลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
(8) การรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการสำนักงาน
ในการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. นี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ออก ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135/ตอนที่ 86 ก/หน้า 1/29 ตุลาคม 2561) ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. มีสาระสำคัญดังนี้
1. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. เรียกโดยย่อว่า "กปปช." มีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ หรือด้านการงบประมาณ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งไม่เกิน 3 คน ร่วมเป็นกรรมการ โดยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นกรรมการและเลขานุการ และอาจแต่งตั้งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่เกิน 3 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่ง กปปช. มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
2. คณะอนุกรรมการข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.ปปช." ทำหน้าที่เป็นคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย
- ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือกรรมการ ป.ป.ช. ที่ประธานกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายเป็นประธาน
- กรรมการ ป.ป.ช. ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย จำนวน 2 คน เป็นอนุกรรมการ
- เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นอนุกรรมการ
- รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่กำกับดูแลงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นอนุกรรมการ
- รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกจากรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมการ
- รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค ที่ได้รับการคัดเลือกจากรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมการ
- ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมการ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กปปช. ที่ กปปช. มอบหมาย จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านกฎหมาย หรือด้านการบริหารและการจัดการ ที่ กปปช. แต่งตั้งจากบุคคลภายนอก ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว จำนวน 2 คน เป็นอนุกรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นเลขานุการ
- ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ผู้อำนวยการสถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ และผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
3. อ.ก.ปปช. ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และมีหน้าที่และอำนาจ ต่อไปนี้
(1) เสนอแนะนโยบาย การวางระบบ หรือระเบียบในการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการบริหารทรัพยากรบุคคลทั้งทางด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่อ กปปช.
(2) เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดอัตรากำลังและการแบ่งส่วนราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. และขอบเขตหน้าที่ของส่วนราชการต่อ กปปช.
(3) พิจารณากำหนดระบบและวิธีปฏิบัติในการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. ทั้งทางด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ นโยบาย และมาตรฐานที่ กปปช. กำหนด
(4) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ
(5) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน คณะบุคคล หรือบุคคล เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ
(6) ปฏิบัติการหรือดำเนินการอื่นใดตามที่ กปปช. มอบหมายหรือมีมติ
4. นอกจาก อ.ก.ปปช. แล้ว กปปช. อาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการใดๆ ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยก็ได้ โดยมีองค์ประกอบและหน้าที่และอำนาจตามที่ กปปช. มีมติกำหนด และให้มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับ อ.ก.พ.วิสามัญ
ที่มา ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2561
(1) การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่ง และค่าตอบแทนหรือสิทธิและประโยชน์อื่นของเลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
(2) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน การถอดถอน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม สมรรถภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การดำเนินการสอบสวนทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษ และการอื่นใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับเลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงาน
(3) การรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการของสำนักงาน
(4) วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดราชการประจำปี
(5) การกำหนดเครื่องแบบและการแต่งเครื่องแบบของกรรมการ เลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
(6) การจ้างและการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือเป็นผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการของสำนักงาน รวมตลอดทั้งค่าจ้างหรือค่าตอบแทนอื่นให้แก่บุคคลดังกล่าว
(7) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่เลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
(8) การรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการสำนักงาน
ในการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. นี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ออก ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135/ตอนที่ 86 ก/หน้า 1/29 ตุลาคม 2561) ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. มีสาระสำคัญดังนี้
1. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. เรียกโดยย่อว่า "กปปช." มีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ หรือด้านการงบประมาณ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งไม่เกิน 3 คน ร่วมเป็นกรรมการ โดยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นกรรมการและเลขานุการ และอาจแต่งตั้งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่เกิน 3 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่ง กปปช. มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
2. คณะอนุกรรมการข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.ปปช." ทำหน้าที่เป็นคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย
- ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือกรรมการ ป.ป.ช. ที่ประธานกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายเป็นประธาน
- กรรมการ ป.ป.ช. ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย จำนวน 2 คน เป็นอนุกรรมการ
- เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นอนุกรรมการ
- รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่กำกับดูแลงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นอนุกรรมการ
- รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกจากรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมการ
- รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค ที่ได้รับการคัดเลือกจากรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมการ
- ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมการ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กปปช. ที่ กปปช. มอบหมาย จำนวน 1 คน เป็นอนุกรรมการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านกฎหมาย หรือด้านการบริหารและการจัดการ ที่ กปปช. แต่งตั้งจากบุคคลภายนอก ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว จำนวน 2 คน เป็นอนุกรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นเลขานุการ
- ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ผู้อำนวยการสถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ และผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
3. อ.ก.ปปช. ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และมีหน้าที่และอำนาจ ต่อไปนี้
(1) เสนอแนะนโยบาย การวางระบบ หรือระเบียบในการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการบริหารทรัพยากรบุคคลทั้งทางด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่อ กปปช.
(2) เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดอัตรากำลังและการแบ่งส่วนราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. และขอบเขตหน้าที่ของส่วนราชการต่อ กปปช.
(3) พิจารณากำหนดระบบและวิธีปฏิบัติในการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. ทั้งทางด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ นโยบาย และมาตรฐานที่ กปปช. กำหนด
(4) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ
(5) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน คณะบุคคล หรือบุคคล เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ
(6) ปฏิบัติการหรือดำเนินการอื่นใดตามที่ กปปช. มอบหมายหรือมีมติ
4. นอกจาก อ.ก.ปปช. แล้ว กปปช. อาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการใดๆ ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยก็ได้ โดยมีองค์ประกอบและหน้าที่และอำนาจตามที่ กปปช. มีมติกำหนด และให้มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับ อ.ก.พ.วิสามัญ
ที่มา ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2561
#นักเรียนกฎหมาย
2 พฤศจิกายน 2562
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น