แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ชุดที่ 1)


ข้อ 1. ข้อใดถูกที่สุด เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานศาลยุติธรรม
1. สำนักงานศาลยุติธรรมเสนองบประมาณรายจ่ายต่อสำนักงบประมาณ 
2. เสนองบประมาณรายจ่ายเพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนให้แก่สำนักงานศาลยุติธรรมเท่านั้น
3. สำนักงานศาลยุติธรรมต้องชี้แจงข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
4. คณะรัฐมนตรีมีอำนาจทำความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณของศาลยุติธรรม

ข้อ 2. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 
1. เรียกโดยย่อว่า ก.บ.ศ.
2. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารและการจัดการ มีจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสี่คน
3. ประธานศาลอุทธรณ์เป็นประธาน
4. กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมห้ามเป็นกรรมการบริหารศาลยุติธรรมในคราวเดียวกัน

ข้อ 3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ตราขึ้นในสมัยที่ผู้ใดดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 
1. บรรหาร ศิลปอาชา
2. ชวน หลีกภัย
3. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
4. ทักษิณ ชินวัตร

ข้อ 4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ใช้บังคับเมื่อใด 
1. เมื่อครบหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. เมื่อครบหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. เมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4. เมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 5. วันใช้บังคับตามข้อ 4. ตรงกันวันใด 
1. 20 สิงหาคม 2543
2. 20 กันยายน 2543
3. 20 ตุลาคม 2543
4. 20 พฤศจิกายน 2543

ข้อ 6. การแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม ต้องทำโดยวิธีการใด 
1. ออกเป็นประกาศ ก.บ.ศ.
2. ออกเป็นระเบียบ ก.บ.ศ.
3. ออกเป็นประกาศ ก.ศ.
4. ออกเป็นระเบียบ ก.ศ.

ข้อ 7. ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 
1. ให้ความเห็นชอบประกาศ ก.บ.ศ. เกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานศาลยุติธรรม
2. เป็นประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรมโดยตำแหน่ง
3. เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
4. พิจารณาคัดเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกาเป็นกรรมการบริหารศาลยุติธรรม

ข้อ 8. ข้อใดต่อไปนี้มิใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 
1. กำหนดการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและลูกจ้างของสำนักงานศาลยุติธรรม
2. ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ชำนาญการเฉพาะด้านเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรม
3. ให้ความเห็นชอบการบริหารจัดการงบประมาณของศาลยุติธรรม
4. ให้ความเห็นชอบในการบริหารการพัสดุของสำนักงานศาลยุติธรรม

ข้อ 9. ปัจจุบัน คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ได้กำหนดระเบียบดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการ ในข้อใด 
1. ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการ พ.ศ. 2550
2. ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2560
3. ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ว่าด้วยคณะอนุกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการ พ.ศ. 2550
4. ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ว่าด้วยคณะอนุกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2560

ข้อ 10. กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมมีการแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดตามพระราชบัญญัติฉบับใด 
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561
3. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 26/2560
4. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 26/2561


เฉลย
ข้อ 1. ตอบ 4. มาตรา 32 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีอาจทำความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณของศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ 2. ตอบ 3. มาตรา 18 ประธานศาลอุทธรณ์เป็นประธาน ก.ศ. ไม่ใช่ ก.บ.ศ.
ข้อ 3. ตอบ 2. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายชวน หลีกภัย
ข้อ 4. ตอบ 3. มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 5. ตอบ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117/ตอนที่ 59 ก/หน้า 1/21 มิถุนายน 2543 พ้นหกสิบวันในวันที่ 20 สิงหาคม 2543
ข้อ 6. ตอบ 1. มาตรา 5 วรรคสอง ทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ. ปัจจุบันคือ ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2559 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2561)
ข้อ 7. ตอบ 4. มาตรา 10 (2) (ก) ข้าราชการตุลาการในศาลฎีกาเป็นผู้เลือก ไม่ใช่ประธานศาลฎีกา
ข้อ 8. ตอบ 2. มาตรา 21 (4) อำนาจออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ชำนาญการเฉพาะด้านเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรม เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ศ. มิใช่ ก.บ.ศ.
ข้อ 9. ตอบ 3. ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ว่าด้วยคณะอนุกรรการข้าราชการศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการ พ.ศ. 2550 ออกตามความในมาตรา 21 (1) (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
ข้อ 10. ตอบ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558


#นักเรียนกฎหมาย
13 พฤศจิกายน 2561

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542