การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งเกี่ยวกับหนี้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) เรื่องเสร็จที่ 1629/2560
การที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ฟ้องลูกหนี้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นคดีแพ่ง ต่อมาศาลแรงงานได้มีหมายเรียกให้ไปไกล่เกลี่ย แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่มีระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความไว้
การที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ฟ้องลูกหนี้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นคดีแพ่ง ต่อมาศาลแรงงานได้มีหมายเรียกให้ไปไกล่เกลี่ย แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่มีระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความไว้
ในการนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะต้องดำเนินการ เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลให้มีความชัดเจน
เนื่องจากมาตรา 129 บัญญัติให้เงินและทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในฐานะผู้แทนนิติบุคคล จึงเป็นผู้มีอำนาจในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โดยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกำหนดด้วย
สำหรับกรณีนี้ ไม่อาจนำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของกระทรวงการคลังมาปรับใช้ได้ เนื่องจากแนวทางปฏิบัติของกระทรวงการคลังใช้บังคับกับส่วนราชการต่างๆ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากงบประมาณแผ่นดินเท่านั้น โดยมิได้ครอบคลุมถึงการพิจารณาคดีความต่างๆ ที่เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ
เมื่อเงินและทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้ของแผ่นดิน จึงถือเป็นเงินนอกงบประมาณ ย่อมไม่อาจนำแนวปฏิบัติของกระทรวงต่างๆ มาปรับใช้ได้
ที่มา เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
#นักเรียนกฎหมาย
29 ตุลาคม 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น