หลักการ วัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายที่ให้การรับรองสิทธิของประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ โดยไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย นอกจากนี้กฎหมายังให้ความคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของรัฐ โดยมีหลักการพื้นฐานดังนี้
หลักการสำคัญของกฎหมาย
1. ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของรัฐ ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย เพื่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปอย่างโปร่งใส
2. ข้อมูลข่าวสารของราชการส่วนใหญ่เปิดเผยได้ ภายใต้หลักการ "เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น" โดยข้อยกเว้นเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดว่าไม่ต้องเปิดเผยเท่านั้น เช่น ข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ เป็นต้น
3. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหน่วยงานจะเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลไม่ได้ เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนดไว้
วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
1. รับรองสิทธิได้รู้หรือได้รับทราบของประชาชน (Right to Know) ภายใต้หลักการ "เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น" เมื่อประชาชนได้รู้ข้อมูลข่าวสารแล้ว ก็อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ เพื่อปกป้องประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์สาธารณะ และการมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
2. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารสำคัญ ภายใต้หลักการ "ความจำเป็นในการคุ้มครอง" ดังนี้
2.1 คุ้มครองความลับของทางราชการ โดยมีระเบียบกำหนดไว้แน่ชัดว่าข้อมูลข่าวสารใดจะกำหนดชั้นความลับได้อย่างไรบ้าง
2.2 คุ้มครองประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน เช่น ความลับทางธุรกิจการค้า เป็นต้น
3. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ภายใต้หลักการ "ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น" ไม่ให้มีการละเมิด ซึ่งจะกระทบต่อสิทธิประโยชน์ส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว (Privacy)
เจตนารมณ์ของกฎหมาย
1. เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้หรือได้ทราบข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีรัฐบาลที่บริหารบ้านเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐ ไม่ต้องเปิดเผย หรืออาจไม่เปิดเผยเพื่อให้ชัดเจนต่อการปฏิบัติ โดยจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน
3. เพื่อคุ้มครองการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, คู่มือสิทธิประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ, (กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด, 2557)
หลักการสำคัญของกฎหมาย
1. ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของรัฐ ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย เพื่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปอย่างโปร่งใส
2. ข้อมูลข่าวสารของราชการส่วนใหญ่เปิดเผยได้ ภายใต้หลักการ "เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น" โดยข้อยกเว้นเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดว่าไม่ต้องเปิดเผยเท่านั้น เช่น ข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ เป็นต้น
3. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหน่วยงานจะเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลไม่ได้ เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนดไว้
วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
1. รับรองสิทธิได้รู้หรือได้รับทราบของประชาชน (Right to Know) ภายใต้หลักการ "เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น" เมื่อประชาชนได้รู้ข้อมูลข่าวสารแล้ว ก็อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ เพื่อปกป้องประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์สาธารณะ และการมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
2. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารสำคัญ ภายใต้หลักการ "ความจำเป็นในการคุ้มครอง" ดังนี้
2.1 คุ้มครองความลับของทางราชการ โดยมีระเบียบกำหนดไว้แน่ชัดว่าข้อมูลข่าวสารใดจะกำหนดชั้นความลับได้อย่างไรบ้าง
2.2 คุ้มครองประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน เช่น ความลับทางธุรกิจการค้า เป็นต้น
3. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ภายใต้หลักการ "ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น" ไม่ให้มีการละเมิด ซึ่งจะกระทบต่อสิทธิประโยชน์ส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว (Privacy)
เจตนารมณ์ของกฎหมาย
1. เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้หรือได้ทราบข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีรัฐบาลที่บริหารบ้านเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐ ไม่ต้องเปิดเผย หรืออาจไม่เปิดเผยเพื่อให้ชัดเจนต่อการปฏิบัติ โดยจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน
3. เพื่อคุ้มครองการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, คู่มือสิทธิประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ, (กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด, 2557)
#นักเรียนกฎหมาย
24 ตุลาคม 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น