กรณีต้องห้ามไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

          ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2559 ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มี กระบวนการระงับข้อพิพาท ที่เกิดจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่คณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย ทำหน้าที่คนกลางในการช่วยเหลือ เสนอแนะ หรือแก้ไขข้อพิพาท ภายในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และจัดทำข้อตกลงที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับระหว่างคู่กรณี 


          อย่างไรก็ตาม ระเบียบดังกล่าว ได้กำหนดกรณีต้องห้ามไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ 4 กรณี คือ
          (1) กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับการล่วงละเมิดและการคุกคามทางเพศ
          (2) กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับความผิดอาญาแผ่นดิน
          (3) กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำรุนแรงต่อเด็ก
          (4) กรณีอื่นตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด (ปัจจุบันยังไม่มีการออกประกาศ)

#นักเรียนกฎหมาย
7 กันยายน 2561


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542