ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ในระบบขนส่งสาธารณะ
กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ได้ให้อำนาจคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดระบบการจราจรทางบก
คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออก ประกาศคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เรื่อง มาตรฐานป้ายสัญลักษณ์ในระบบขนส่งสาธารณะ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 213 ง วันที่ 3 กันยายน 2561) เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ โดยแบ่งป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ออกเป็น 7 กลุ่ม คือ
1. ป้ายสัญลักษณ์สิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไป (Public Facilities)
คือ ป้ายสัญลักษณ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลหรือให้การแนะนำผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการ ให้สามารถไปยังจุดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (ยกเว้นสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคม) มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 2 ชนิด คือ
1.1 พื้นสีขาว เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีดำ
1.2 พื้นสีน้ำเงิน เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีขาว
- ห้องสุขา (ทั่วไป)
- ห้องสุขา (ผู้ชาย)
- ห้องสุขา (ผู้หญิง)
- กรุณาแบ่งปันที่นั่ง
- ที่นั่งสำหรับพระภิกษุ หรือนักบวช
- ลิฟต์
- บันไดเลื่อน
- บันได
- ทางเลื่อน
- ทางข้าม
- ห้องสวดมนต์
- ห้องแต่งตัวผู้ชาย
- ห้องแต่งตัวผู้หญิง
- ห้องรับฝากเสื้อ
- ห้องอาบน้ำ
- ห้องปฐมพยาบาล
- จุดบริการน้ำดื่ม
- สถานที่รับดูแลเด็ก
- ห้องเปลี่ยนผ้าอ้อม
- สถานีตำรวจ/ป้อมตำรวจ
- จุดแจ้งของหายและรับคืน
- จุดนัดพบ
- เคาน์เตอร์เช็คอิน/ ต้อนรับ
- พื้นที่สูบบุหรี่
- ถังขยะ
- รีไซเคิล
- ธนาคาร/จุดบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา
- ตู้บริการเงินสดอัตโนมัติ
- จุดชำระเงิน
- พื้นที่จำหน่ายสินค้า
- ร้านค้าปลอดภาษี
- ร้านหนังสือ
- ร้านอาหาร
- ร้านกาแฟ
- ร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม
- ร้านขายยา
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
- จุดประชาสัมพันธ์/บริการข้อมูล
- จุดบริการข้อมูลที่พัก/จองที่พัก
- โทรศัพท์
- โทรสาร
- ไปรษณีย์
- บริการอินเตอร์เน็ต
2. ป้ายสัญลักษณ์สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคม (Transport Facilities)
เพื่อให้ข้อมูลหรือให้การแนะนำผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการ ให้สามารถไปยังจุดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางหรือการคมนาคม มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 2 ชนิด คือ
2.1 พื้นสีขาว เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีดำ
2.2 พื้นสีน้ำเงิน เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีขาว
- ที่จอดรถ
- เที่ยวบินขาออก
- เที่ยวบินขาเข้า
- เชื่อมต่อเที่ยวบิน
- สถานที่รวมสัมภาระเดินทาง
- ตู้เก็บสัมภาระเดินทาง
- รถเข็นสัมภาระเดินทาง
- สถานที่รับสัมภาระเดินทาง
- บริการขนส่งกระเป๋าเดินทาง
- ที่ขายตั๋ว/ตู้ขายตั๋ว
- ศุลกากร
- ตรวจคนเข้าเมือง
- อากาศยาน/ท่าอากาศยาน
- รถไฟ/สถานีรถไฟ
- รถโดยสาร/สถานีขนส่ง
- เรือโดยสาร/ท่าเทียบเรือ
- รถแท็กซี่
- รถเช่า/บริการรถเช่า
- รถประจำทาง/จุดจอดรถประจำทาง
- จักรยาน
- รถราง
- รถกระเช้า
- รถรางลอยฟ้า
- เฮลิคอปเตอร์
- รถไฟฟ้า/สถานีรถไฟฟ้า
3. ป้ายสัญลักษณ์ห้าม (Prohibition)
มีวัตถุประสงค์เพื่อห้ามผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการ กระทำการหรือกิจกรรมบางอย่าง มีลักษณะเป็นป้ายวงกลม พื้นสีขาว เส้นขอบป้ายและเส้นคาดสีแดง ข้อความและสัญลักษณ์สีดำ
- การห้ามทั่วไป
- ห้ามสูบบุหรี่
- ห้ามจุดไฟ/ห้ามวัตถุไวไฟ
- ห้ามเข้า/ห้ามบุกรุก
- ห้ามจอดรถ
- ห้ามรถจักรยานผ่าน
- ห้ามผ่าน
- ห้ามวิ่ง
- ห้ามจับ/ห้ามสัมผัส
- ห้ามทิ้งขยะ
- ห้ามวางเท้าบนเก้าอี้
- ห้ามนำกระเป๋าเดินทางเข้า
- ห้ามดื่ม
- ห้ามใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
- ห้ามใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ห้ามถ่ายรูป
- ห้ามใช้แฟลชขณะถ่ายรูป
- ห้ามใช้รถเข็นเด็ก
- ห้ามว่ายน้ำ
- ห้ามตั้งแค้มป์
- ห้ามรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
- ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้า
- ห้ามพกพาอาวุธ
- ห้ามนำสัมภาระขนาดใหญ่เข้าในสถานี
- ห้ามนำลูกโป่งเข้าในสถานี
- ห้ามนำทุเรียนหรืออาหารมีกลิ่นแรงเข้าในสถานี
- ห้ามหาบเร่
4. ป้ายสัญลักษณ์เตือน (Warning)
เพื่อเตือนผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการ ให้กระทำการหรือกิจกรรมบางอย่าง มีลักษณะเป็นป้ายสามเหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีเหลือง เส้นของป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีดำ
- ระวังอันตราย/การเตือนทั่วไป
- ระวังสิ่งกีดขวาง
- ระวังพื้นต่างระดับ (ขึ้น)
- ระวังพื้นต่างระดับ (ลง)
- ระวังพื้นลื่น
- ระวังตก
- ระวังศีรษะ
- ระวังไฟฟ้าแรงสูง
- ยืนให้พ้นจากระยะปิดประตู
5. ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย (Safety)
เพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือกิจกรรมหรือพื้นที่ที่ทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชนิด คือ
5.1 พื้นสีแดง เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีขาว
5.2 พื้นสีขาว เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีเขียว
5.3 พื้นสีขาว เส้นขอบและเส้นคาดสีแดง ข้อความและสัญลักษณ์สีดำ
- อุปกรณ์ดับเพลิงยกหิ้ว
- ปุ่มฉุกเฉิน
- จุดกดแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- สายดับเพลิง
- โทรศัพท์ฉุกเฉิน
- บันไดหนีไฟ
- ห้ามใช้ลิฟต์ขณะเกิดเพลิงไหม้
- ทางออกฉุกเฉิน
- พื้นที่ปลอดภัย
6. ป้ายสัญลักษณ์จำกัดสิทธิ์ (Mandatory)
เป็นการจำกัดสิทธิ์ผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการ ในการกระทำการหรือกิจกรรมบางอย่าง มีลักษณะเป็นป้ายวงกลม พื้นสีน้ำเงินหรือสีฟ้า เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีขาว
- การจำกัดสิทธิ์ทั่วไป
- กรุณางดใช้เสียง
- กรุณายืนชิดด้านขวา
- กรุณายืนชิดด้านซ้าย
- กรุณาเข้าแถวเรียงหนึ่ง
- กรุณาเข้าแถวเรียงสอง
- กรุณาเข้าแถวเรียงสาม
- กรุณาอุ้มสัตว์เลี้ยงของท่าน
- กรุณาจูงเด็ก
7. ป้ายสัญลักษณ์สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ (Accessible Facilities)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลหรือให้การแนะนำผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการที่เป็นผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ ให้สามารถไปยังจุดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 2 ชนิด
7.1 พื้นสีน้ำเงิน เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีขาว
7.2 พื้นสีขาว เส้นขอบป้าย ข้อความและสัญลักษณ์สีน้ำเงิน
- สิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไปสำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ
- สิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไปสำหรับผู้สูงอายุ
- ห้องสุขาทั่วไปที่คนพิการ หรือทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ สามารถใช้บริการได้
- ห้องสุขาเฉพาะสำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ
- ทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็น
- ทางร่วมของรถเข็น
- ที่จอดรถยนต์สำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ
- ที่จอดรถยนต์สำหรับผู้สูงอายุ
- ลิฟต์เฉพาะสำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ
- เครื่องช่วยฟัง
- เครื่องช่วยเหลือคนพิการทางการได้ยิน
- โทรศัพท์เสียง
- บริการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
- บริการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางการเห็น
- บริการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางสติปัญญา การรับรู้ และออทิสติก
#นักเรียนกฎหมาย
3 กันยายน 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น