หน้าที่พิเศษของนิติกร : การจัดสอบเพื่อเป็นข้าราชการ
เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสทำหน้าที่กรรมการรับ-ส่งข้อสอบ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รวมทั้งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงอยากแชร์ประสบการณ์สำหรับรุ่นน้องๆ ที่จะต้องทำงานในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมทำงานให้สัมฤทธิ์ผล แม้จะต้องทำงานในวันหยุดก็ตาม
โดยทั่วไปแล้ว หน่วยงานของรัฐหลายๆ แห่งที่จัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ก็มักจะใช้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ผู้อำนวยการกลุ่ม/ส่วน/ฝ่าย นักทรัพยากรบุคคล/เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้แล้ว หลายหน่วยงานที่กำหนดมาตรการพิเศษ ก็มักจะแต่งตั้งนิติกร ให้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการจัดสอบแต่ละครั้งด้วย
ในการสอบแข่งขันของ สพฐ. ในปี พ.ศ. 2561 ได้เปิดรับสมัครสอบ จำนวน 10 ตำแหน่ง บรรจุครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2561 ประมาณ 50 อัตรา ผู้เขียนดำรงตำแหน่ง นิติกรชำนาญการ ของ สพฐ. ได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ ที่เล็งเห็นผลการทำงาน จึงให้โอกาสปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในการจัดสอบครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นภารกิจพิเศษนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่นิติกรทั่วไป คือ
1. เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ในการจัดสอบครั้งนี้ สพฐ. ได้ดำเนินการจ้างมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้ดำเนินการสอบ เช่น การผลิตและการออกข้อสอบ การประมวลผลคะแนนสอบ ในแต่ละขั้นตอนผู้รับจ้างมีหน้าที่ส่งมอบงานตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง เช่น เมื่อปิดรับสมัครแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องส่งมอบรายชื่อผู้สมัครสอบ โดยแยกแต่ละตำแหน่ง ตลอดจนการจัดทำผังห้องสอบของแต่ละตำแหน่งแต่ละห้องสอบ เพื่อให้ สพฐ. นำไปประกาศให้ผู้สมัครรับทราบและเข้าใจในการสอบ ซึ่งผู้เขียนก็ต้องตรวจรับงานในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งส่งมอบงานงวดสุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการสอบในครั้งนี้ให้เป็นไปตามสัญญาและข้อตกลงที่กำหนดไว้
2. เป็นกรรมการตรวจเยี่ยมสนามสอบ แม้การตรวจเยี่ยมสนามสอบมักจะเป็นภารกิจพิเศษสำหรับข้าราชการระดับสูง แต่ในครั้งนี้ สพฐ. ให้โอกาสผู้เขียนร่วมเป็นกรรมการตรวจเยี่ยมสนามสอบกับผู้บริหารของหน่วยงานในวันที่มีการสอบข้อเขียน (ภาค ข.) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต หน้าที่โดยทั่วไป จะสังเกตการณ์แวดล้อมต่างๆ ดูความเรียบร้อยของการจัดสอบให้เป็นไปตามมาตรการรักษาความลับ ความปลอดภัยของการจัดสอบ
3. เป็นกรรมการรับ-ส่ง ผลคะแนนสอบสัมภาษณ์ (ภาค ค.) ซึ่ง สพฐ. ได้มอบหมายให้ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการกลุ่ม ทำการสัมภาษณ์ผู้เข้าสอบด้วยตนเอง เพื่อคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาทำงานตรงกับหน้าที่ในแต่ละตำแหน่งและความต้องการของ สพฐ. โดยมีกรรมการสัมภาษณ์ประมาณ 20 โต๊ะ ใช้เวลาสัมภาษณ์ 2 วัน คือ วันเสาร์ที่ 15 และวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เมื่อทำการสอบสัมภาษณ์เสร็จในแต่ละวัน ผู้เขียนได้ทำหน้าที่ร่วมกับพี่ๆ ใน สพฐ. จัดส่งผลคะแนนทั้งหมด ให้แก่มหาวิทยาลัยผู้รับจ้าง เพื่อนำไปประมวลผลคะแนนสอบ รวมกับคะแนน ภาค ข. เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสอบแข่งขันต่อไป
การดำเนินการจัดสอบแข่งขันแต่ละครั้ง ใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อย มีขั้นตอนต่างๆ ที่รัดกุม มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและความลับของทางราชการ และป้องกันการทุจริตในการสอบ ในแต่ละขั้นตอนมีการกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบไว้ชัดเจน ให้การสอบเป็นไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมทำงานกับ สพฐ. ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของหน่วยงานซึ่งได้มอบหมายให้กับนิติกรร่วมปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว นิติกรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานนี้ (หรืองานอื่นๆ) จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภารกิจของหน่วยงาน ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานในทุกครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่
โดยทั่วไปแล้ว หน่วยงานของรัฐหลายๆ แห่งที่จัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ก็มักจะใช้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ผู้อำนวยการกลุ่ม/ส่วน/ฝ่าย นักทรัพยากรบุคคล/เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้แล้ว หลายหน่วยงานที่กำหนดมาตรการพิเศษ ก็มักจะแต่งตั้งนิติกร ให้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการจัดสอบแต่ละครั้งด้วย
ในการสอบแข่งขันของ สพฐ. ในปี พ.ศ. 2561 ได้เปิดรับสมัครสอบ จำนวน 10 ตำแหน่ง บรรจุครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2561 ประมาณ 50 อัตรา ผู้เขียนดำรงตำแหน่ง นิติกรชำนาญการ ของ สพฐ. ได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ ที่เล็งเห็นผลการทำงาน จึงให้โอกาสปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในการจัดสอบครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นภารกิจพิเศษนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่นิติกรทั่วไป คือ
กำหนดสิ่งของที่อนุญาต และไม่อนุญาตให้นำเข้าห้องสอบ |
1. เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ในการจัดสอบครั้งนี้ สพฐ. ได้ดำเนินการจ้างมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้ดำเนินการสอบ เช่น การผลิตและการออกข้อสอบ การประมวลผลคะแนนสอบ ในแต่ละขั้นตอนผู้รับจ้างมีหน้าที่ส่งมอบงานตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง เช่น เมื่อปิดรับสมัครแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องส่งมอบรายชื่อผู้สมัครสอบ โดยแยกแต่ละตำแหน่ง ตลอดจนการจัดทำผังห้องสอบของแต่ละตำแหน่งแต่ละห้องสอบ เพื่อให้ สพฐ. นำไปประกาศให้ผู้สมัครรับทราบและเข้าใจในการสอบ ซึ่งผู้เขียนก็ต้องตรวจรับงานในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งส่งมอบงานงวดสุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการสอบในครั้งนี้ให้เป็นไปตามสัญญาและข้อตกลงที่กำหนดไว้
2. เป็นกรรมการตรวจเยี่ยมสนามสอบ แม้การตรวจเยี่ยมสนามสอบมักจะเป็นภารกิจพิเศษสำหรับข้าราชการระดับสูง แต่ในครั้งนี้ สพฐ. ให้โอกาสผู้เขียนร่วมเป็นกรรมการตรวจเยี่ยมสนามสอบกับผู้บริหารของหน่วยงานในวันที่มีการสอบข้อเขียน (ภาค ข.) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต หน้าที่โดยทั่วไป จะสังเกตการณ์แวดล้อมต่างๆ ดูความเรียบร้อยของการจัดสอบให้เป็นไปตามมาตรการรักษาความลับ ความปลอดภัยของการจัดสอบ
3. เป็นกรรมการรับ-ส่ง ผลคะแนนสอบสัมภาษณ์ (ภาค ค.) ซึ่ง สพฐ. ได้มอบหมายให้ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการกลุ่ม ทำการสัมภาษณ์ผู้เข้าสอบด้วยตนเอง เพื่อคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาทำงานตรงกับหน้าที่ในแต่ละตำแหน่งและความต้องการของ สพฐ. โดยมีกรรมการสัมภาษณ์ประมาณ 20 โต๊ะ ใช้เวลาสัมภาษณ์ 2 วัน คือ วันเสาร์ที่ 15 และวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เมื่อทำการสอบสัมภาษณ์เสร็จในแต่ละวัน ผู้เขียนได้ทำหน้าที่ร่วมกับพี่ๆ ใน สพฐ. จัดส่งผลคะแนนทั้งหมด ให้แก่มหาวิทยาลัยผู้รับจ้าง เพื่อนำไปประมวลผลคะแนนสอบ รวมกับคะแนน ภาค ข. เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสอบแข่งขันต่อไป
การดำเนินการจัดสอบแข่งขันแต่ละครั้ง ใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อย มีขั้นตอนต่างๆ ที่รัดกุม มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและความลับของทางราชการ และป้องกันการทุจริตในการสอบ ในแต่ละขั้นตอนมีการกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบไว้ชัดเจน ให้การสอบเป็นไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมทำงานกับ สพฐ. ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของหน่วยงานซึ่งได้มอบหมายให้กับนิติกรร่วมปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว นิติกรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานนี้ (หรืองานอื่นๆ) จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภารกิจของหน่วยงาน ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานในทุกครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่
#นักเรียนกฎหมาย
18 กันยายน 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น