วันจันทร์ : จุดอ่อนของระบบราชการ

          หลายคนคงเคยได้ยินข่าวกันมาบ้าง ว่าหากวันหยุดสุดสัปดาห์ ในวันเสาร์และอาทิตย์ เกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยขึ้น หรือประชาชนได้รับความเดือดร้อน หน่วยงานราชการหลายแห่งสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ระดับหนึ่ง แต่อีกหลายแห่งต้องรอวันเปิดทำการ 
          ตัวอย่างล่าสุด คือ ข่าวรถโดยสารสาธารณะของเอกชน 2 สาย จอดซ้อนกันที่ป้ายหยุดรถ และปิดช่องจราจร ทำให้ผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน และผู้สัญจรไม่สามารถใช้สัญจรได้ตามภาพนี้

ภาพประกอบ จากทวีตเตอร์ จส.100

ภาพข่าว จากเว็บไซต์ จส.100

ภาพข่าว จากเว็บไซต์ จส.100

          เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561 เวลา 17.00 น. รถโดยสารเอกชนร่วมบริการธรรมดา สาย 8 แฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ และสาย 44 เคหะคลองจั่น-ท่าเตียน จอดรถเบียดซ้อนกัน บริเวณป้ายหยุดรถโดยสาร ข้างห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ทำให้ปิดช่องการจราจรและผู้ใช้บริการรถโดยสารเอกชนร่วมบริการ สาย 8 ไม่สามารถลงจากรถได้ 
          องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร หรือ ขสมก. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแล ได้ลงโทษปรับบริษัทเดินรถทั้ง 2 แห่ง ขั้นสูงสุด 5,000 บาท เนื่องจากไม่กำกับดูแลพนักงานให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของ ขสมก. พร้อมสั่งพักการเดินรถและพักการปฏิบัติหน้าที่พนักงานขับรถทั้ง 2 คน เป็นเวลา 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2561 เป็นต้นไป นอกจากนี้ให้เจ้าของบริษัททั้ง 2 แห่ง มารายงานตัวพร้อมกับพนักงานขับรถโดยสาร เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง ในวันที่ 3 กันยายน 2561 เวลา 09.00 น. ณ สำนักงานใหญ่ ขสมก.

          ผู้เขียนเห็นว่า จากเหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงการให้บริการเดินรถโดยสารสาธารณะ ไม่ได้คำนึงถึงกฎหมาย และความปลอดภัยของผู้โดยสารอย่างแท้จริง ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถลงจากรถโดยสารได้ และไม่ได้สนใจผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ ที่มีความจำเป็นจะต้องใช้ช่องจราจร
          สำหรับการสอบสวนข้อเท็จจริงของ ขสมก. ที่จะเริ่มในวันจันทร์ เวลา 09.00 น. ผู้เขียนเห็นว่า ยังเป็นการยึดโยงการทำงานในระบบเก่า ซึ่งระบบราชการสมัยใหม่ จะต้องคล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอวันจันทร์ ซึ่งสะท้อนได้จากการตัดสินใจของ ขสมก. บางส่วน ที่มีคำสั่งลงโทษผู้ประกอบการได้ทันทีแม้จะเป็นวันหยุดราชการ และถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของระบบราชการ แต่จะดีมากยิ่งขึ้น ถ้าเริ่มสอบสวนและได้พยานหลักฐาน แบบ สดๆร้อนๆ ก็จะส่งผลให้การสรุปสำนวนรวดเร็ว และบังคับใช้กฎหมายได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

#นักเรียนกฎหมาย
2 กันยายน 2561


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542