สื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์
ปัจจุบันสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ หรือภาพยนตร์ ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อจากอินเทอร์เน็ตและเกมทั้งแบบ Online และ Offline มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรมพบว่าเด็กไทยใช้เวลากับสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ วันละ 6-8 ชั่วโมง
ด้วยเหตุนี้พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 ได้ตราขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม
โดยคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ไว้ 5 ประเภท คือ
1. มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีของสังคม หรือส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างร้ายแรง
2. มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกแยก ยั่วยุ และสร้างความเกลียดชังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล จนอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ
3. มีเนื้อหาส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
4. มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมาย
ข้อสังเกตุของผู้เขียน
ลักษณะของสื่อไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ตามประกาศของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว เป็นเพียงกลไกที่จะส่งเสริมให้เกิดสื่อที่มี "คุณภาพ" และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยกองทุนในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เท่านั้น ไม่มีผลต่อสื่อที่มีวัตถุประสงค์ในการกระทำผิดกฎหมาย เช่น หลอกลวงหรือลักลอบขโมยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้สื่อ ที่ผู้ใช้งานจำนวนมากมักจะใช้ "สื่อไม่มีคุณภาพ" มากกว่า "สื่อคุณภาพ"
#นักเรียนกฎหมาย
6 สิงหาคม 2561
อ้างอิง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น