หลักเกณฑ์การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ออก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ขึ้น เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2. ทำทัณฑ์บน การทำทัณฑ์บนจะใช้ในกรณีที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้วแต่ยังไม่เข็ดหลาบ
ทั้งนี้ การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ โดยเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิด และรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย
3. ตัดคะแนนความประพฤติ การลงโทษตัดคะแนนความประพฤติจะต้องเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาซึ่งแต่ละสถานศึกษาได้กำหนดไว้ และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เพื่อเป็นหลักฐานด้วย
4. ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลงโทษโดยกำหนดให้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น จะใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เจตนารมณ์ของการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาที่กระทำความผิด ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา การลงโทษมีความมุ่งหมาย เพื่อการอบรมสั่งสอน แก้นิสัยและความประพฤติที่ไม่ดี ให้รู้สำนึกในความเป็นผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป
ผู้ที่มีอำนาจในการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาได้ จะต้องเป็นผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเท่านั้น และโทษที่จะลงแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด ได้กำหนดไว้ 4 สถาน ดังต่อไปนี้
1. ว่ากล่าวตักเตือน โทรสถานนี้ใช้ในกรณีที่นักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
2. ทำทัณฑ์บน การทำทัณฑ์บนจะใช้ในกรณีที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้วแต่ยังไม่เข็ดหลาบ
ทั้งนี้ การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ โดยเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิด และรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย
3. ตัดคะแนนความประพฤติ การลงโทษตัดคะแนนความประพฤติจะต้องเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาซึ่งแต่ละสถานศึกษาได้กำหนดไว้ และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เพื่อเป็นหลักฐานด้วย
4. ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลงโทษโดยกำหนดให้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น จะใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ทั้งนี้การจัดกิจกรรมจะต้องเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
อย่างไรก็ตาม
นอกเหนือจากการลงโทษ 4 สถาน ดังกล่าวแล้ว ห้ามผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง กลั่นแกล้ง ลงโทษด้วยความโกรธ ความพยาบาท และจะต้องคำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา ตลอดจนความร้ายแรงของพฤติการณ์เพื่อประกอบในการลงโทษด้วย
อ่านเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น