การคำนวณระยะเวลาในเดือนกุมภาพันธ์ตามกฎหมาย
ทางปฏิบัติการคำนวณระยะเวลา 1 ปี มักจะใช้เกณฑ์ 365 วัน เช่น การคำนวณดอกเบี้ยสะสมหลายๆ ปี ก็มักจะใช้เกณฑ์ 365 วันต่อปี ซึ่งมีความง่ายและสะดวกในการคำนวณ
อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ในการคำนวณระยะเวลา กฎหมายกำหนดว่าถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นปี จะต้องคำนวณตามปีปฏิทิน หมายความว่า หากปีใดมี 365 วัน ก็คำนวณโดยใช้ 365 เป็นเกณฑ์ แต่หากปีใดมี 366 วัน (ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน เรียกว่า อธิกสุรทิน) จะต้องใช้ 366 วัน เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ มิใช่ 365 วัน แต่อย่างใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า
โดยมีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 194/2536 วินิจฉัยว่าการคำนวณระยะเวลาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/5 บัญญัติให้คำนวณตามปีปฏิทิน ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2531 เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน ดังนั้น ปี พ.ศ. 2531 จึงมี 366 วัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยเฉพาะในปี พ.ศ. 2531 จึงต้องใช้ระยะเวลา 366 วัน
กล่าวโดยสรุป การคำนวณระยะเวลาเป็นปี จะต้องคำนวณตามปีปฏิทิน หากปีใดมี 366 วัน จะต้องแยกพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ 366 วัน
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการหลายแห่ง มักจะคำนวณระยะเวลา 1 ปี โดยใช้เกณฑ์ 365 วัน เนื่องจากไม่เข้าใจบทบัญญัติตามมาตรา 193/5 ดังกล่าว จึงเป็นการคำนวณระยะเวลาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบกับประชาชนที่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่จะคำนวณถูกต้อง จึงไม่โต้แย้งคัดค้าน จนกลายเป็นความเข้าใจที่ผิด ว่าได้ดำเนินการถูกต้อง และได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมาเรื่อยๆ ดังนั้น หากประชาชนผู้ที่ได้รับคำสั่งของเจ้าหน้าที่โดยมีการคำนวณระยะเวลาแต่ละปี 365 วันเป็นเกณฑ์ จึงมีสิทธิโต้แย้งคัดค้าน เพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายได้
#นักเรียนกฎหมาย
5 สิงหาคม 2561
ที่มา
ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น