ตำรวจร้องเรียนโดยไม่เปิดเผยชื่อก็ได้
สืบเนื่องมาจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจตามหลักอาวุโส ซึ่งกำหนดให้ใช้หลักอาวุโสในการพิจารณาแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ โดยผู้เขียนได้สรุปสาระสำคัญไว้ในบทความ การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจตามหลักอาวุโส
จะเห็นได้ว่า การแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนเกี่ยวกับการเรียกรับผลประโยชน์ตอบแทนในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจในครั้งนี้ โดยไม่ต้องแจ้งชื่อผู้ร้องเรียนและที่อยู่ ถือเป็นกลไกสำคัญที่จะป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เนื่องจากผู้ร้องเรียนจะรู้สึกปลอดภัย และผู้ที่จะกระทำผิดก็อาจเกรงกลัวและหลีกเลี่ยงที่จะกระทำผิด
อย่างไรก็ดี การร้องเรียนที่ไม่ระบุชื่ออันเป็นบัตรสนเท่ห์นี้ ผู้ที่มีอำนาจพิจารณาก็จำต้องใช้ความรอบคอบ เพื่อไม่ให้เป็นช่องโหว่เพื่อใช้เป็นการกลั่นแกล้งร้องเรียนกัน โดยพิจารณาจากข้อร้องเรียนซึ่งกล่าวอ้างพฤติการณ์และพยานหลักฐาน ถ้ามี เป็นสำคัญ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบเพื่อหาผู้กระทำความผิดได้ อันจะส่วนช่วยให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าว ได้กำหนดหลักการสำคัญเกี่ยวกับการร้องเรียนไว้ 2 ประการ คือ
1. หากข้าราชการตำรวจเห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย ให้มีสิทธิร้องทุกข์หรือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาได้ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้อยู่แล้ว เพียงแต่นำมากำหนดรับรองสิทธิในการร้องเรียนเพิ่มเติมเท่านั้น
2. หากข้าราชการตำรวจ หรือบุคคลใด พบเห็นหรือทราบว่ามีการเรียกรับผลประโยชน์แลกเปลี่ยน หรือมีการรับผลประโยชน์ตอบแทน หรือกระทำด้วยวิธีการอื่นใด ในลักษณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ให้สามารถแจ้งเบาะแส พฤติการณ์และตัวบุคคลเพื่อนำไปสู่กระบวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ในการพิสูจน์ ตรวจสอบและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมาย โดยแจ้งต่อศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กระทรวงยุติธรรม และถือเป็นข้อมูลลับที่จะได้รับการรักษาความลับตามกฎหมาย ทั้งนี้ผู้แจ้งเบาะแส/ร้องเรียน ไม่จำเป็นต้องแจ้งชื่อและที่อยู่แต่อย่างใด1. หากข้าราชการตำรวจเห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย ให้มีสิทธิร้องทุกข์หรือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาได้ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้อยู่แล้ว เพียงแต่นำมากำหนดรับรองสิทธิในการร้องเรียนเพิ่มเติมเท่านั้น
อย่างไรก็ดี การร้องเรียนที่ไม่ระบุชื่ออันเป็นบัตรสนเท่ห์นี้ ผู้ที่มีอำนาจพิจารณาก็จำต้องใช้ความรอบคอบ เพื่อไม่ให้เป็นช่องโหว่เพื่อใช้เป็นการกลั่นแกล้งร้องเรียนกัน โดยพิจารณาจากข้อร้องเรียนซึ่งกล่าวอ้างพฤติการณ์และพยานหลักฐาน ถ้ามี เป็นสำคัญ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบเพื่อหาผู้กระทำความผิดได้ อันจะส่วนช่วยให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
#นักเรียนกฎหมาย
3 สิงหาคม 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น