ประเภทและอำนาจคุมขังของเรือนจำ
เรือนจำ คือ ที่สำหรับควบคุม ขัง หรือจำคุกผู้ต้องขัง ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ นักโทษเด็ดขาดที่ถูกหมายจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด รวมถึงผู้ที่ถูกขังตามกฎหมาย คนต้องขังตามหมายขัง และ คนฝาก คือผู้ที่ถูกฝากให้ควบคุม ซึ่งตามกฎหมายจำแนกเรือนจำออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. เรือนจำกลาง โดยปกติรับคุมขังผู้ต้องขังที่มีคำพิพากษาแล้ว และนักโทษเด็ดขาด เช่น เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางเชียงใหม่ เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
ภาพจาก Facebook เรือนจำกลางคลองเปรม |
1. เรือนจำกลาง โดยปกติรับคุมขังผู้ต้องขังที่มีคำพิพากษาแล้ว และนักโทษเด็ดขาด เช่น เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางเชียงใหม่ เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
2. เรือนจำส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย เรือนจำจังหวัด และเรือนจำอำเภอ ปกติรับคุมขังผู้ต้องขังที่เป็นคนฝาก ผู้ต้องขังระหว่างคดีและนักโทษเด็ดขาด เช่น เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรือนจำอำเภอสีคิ้ว เป็นต้น
3. เรือนจำพิเศษหรือทัณฑสถาน ปกติรับคุมขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภท เช่น หญิง คนวัยหนุ่ม เด็ก คนชรา หรือพิการทุพพลภาพ คนป่วย หรือผู้ต้องขังประเภทเดียวกับเรือนจำส่วนภูมิภาคซึ่งในพื้นที่นั้นไม่มีเรือนจำส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ เช่น เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำพิเศษนครสวรรค์ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา เป็นต้น
4. เรือนจำชั่วคราว ปกติจัดตั้งขึ้นและรับคุมขังผู้ต้องขังเฉพาะกรณีตามที่รัฐมนตรีกำหนด
อ่านต่อ >> อำนาจการคุมขังของเรียนจำ
อ้างอิง กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479
อ่านต่อ >> อำนาจการคุมขังของเรียนจำ
#นักเรียนกฎหมาย
28 สิงหาคม 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น