6 ช่องทางชำระค่าธรรมเนียมศาลปกครอง
โดยทั่วไปการฟ้องคดีต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ยกเว้นการฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) โดยให้เสียค่าธรรมเนียมตามทุนทรัพย์ในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สำหรับคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งหากมีทุนทรัพย์ในคดีไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้เสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และสำหรับทุนทรัพย์ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท ให้เสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ 0.1
สำหรับวิธีการชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น ข้อ 34 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 ได้กำหนดวิธีการชำระค่าธรรมเนียมศาลปกครอง ซึ่งสามารถชำระได้ถึง 6 วิธี ดังนี้
อ้างอิง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
สำหรับวิธีการชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น ข้อ 34 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 ได้กำหนดวิธีการชำระค่าธรรมเนียมศาลปกครอง ซึ่งสามารถชำระได้ถึง 6 วิธี ดังนี้
1. ชำระเป็นเงินสด
2. เช็คซึ่งธนาคารรับรอง หรือเช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย
3. บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นใดในลักษณะเดียวกัน มีหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1 เป็นบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือบัตรอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ที่ออกโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นใดซึ่งได้ทำความตกลงกับสำนักงานศาลปกครอง
3.2 กรณีบัตรที่ใช้ชำระมิใช่เป็นบัตรของผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล หรือเป็นการชำระแทนในนามของผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล สามารถดำเนินการได้โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลออกใบรับเงินในนามของผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว
4. หักบัญชีธนาคาร หรือชำระผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการบริการรับชำระหนี้แทน มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
4.1 การหักบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน ต้องได้รับอนุญาตจากศาลและผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือยินยอมให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินหักเงินจากบัญชีของตนเพื่อชำระค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินดังกล่าวได้อนุมัติและแจ้งผลให้ศาลทราบแล้ว โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลออกใบรับเงินให้
4.2 การชำระผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจบริการรับชำระหนี้แทนได้ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ธนาคารหรือสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลนั้น ได้ทำความตกลงกับสำนักงานศาลปกครองแล้ว
(2) พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลต้องออกใบแจ้งการชำระค่าธรรมเนียมศาล เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลใช้เป็นหลักฐานในการชำระ
(3) ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ต้องนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อศาลเพื่อออกใบรับเงิน
5. ชำระด้วยเครื่องฝากถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ต้องนำหลักฐานการชำระผ่านเครื่องดังกล่าวมาแสดงต่อศาลเพื่อออกใบรับเงิน
6. ชำระทางอินเตอร์เน็ต มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
6.1 จะต้องเป็นการชำระผ่านทางเว็บไซต์ของธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่สำนักงานศาลปกครองกำหนดไว้
6.2 การชำระผ่านทางอินเตอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต ธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตรได้ทำความตกลงกับสำนักงานศาลปกครองแล้ว
6.3 ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ต้องนำหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมศาลมาแสดงต่อศาลเพื่อออกใบรับเงิน
ทั้งนี้ การชำระค่าธรรมเนียมศาลทั้ง 5 วิธี ดังกล่าว จะต้องชำระภายในระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ และหากมีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเรียกเก็บเงินตามวิธีการดังกล่าว ให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลเป็นผู้รับภาระ
#นักเรียนกฎหมาย
2 สิงหาคม 2561
2 สิงหาคม 2561
อ้างอิง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
มาตรา 45 วรรคสี่ บัญญัติว่า "การฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) ให้เสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สำหรับคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้"
ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560
ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560
ข้อ 34 กำหนดว่า "คำฟ้องที่ขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) ให้ชำระค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์เป็นเงินสด เช็คซึ่งธนาคารรับรองหรือเช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลออกใบรับให้หรือชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยวิธีการอื่นดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเรียกเก็บเงินตามวิธีการดังกล่าว ถ้ามี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ประธานศาลปกครองสูงสุดกำหนด
(1) บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
(2) หักบัญชีธนาคาร หรือชำระผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการบริการรับชำระหนี้แทนหรือด้วยเครื่องฝากถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM)
(3) ทางอินเทอร์เน็ต
(4) วิธีการอื่นตามที่ประธานศาลปกครองสูงสุดกำหนด
ในกรณีตามวรรคหนึ่งที่ผู้ฟ้องคดีหลายคนร่วมกันยื่นคำฟ้องเป็นฉบับเดียวกัน หากเป็นกรณีที่อาจแบ่งแยกได้ว่าทุนทรัพย์ของผู้ฟ้องคดีแต่ละคนเป็นจำนวนเท่าใด ให้ผู้ฟ้องคดีแต่ละคนชำระค่าธรรมเนียมศาลตามส่วนของตน
ในการคำนวณทุนทรัพย์ ถ้าทุนทรัพย์ไม่ถึงหนึ่งร้อยบาทให้นับเป็นหนึ่งร้อยบาท เศษของหนึ่งร้อยบาท ถ้าถึงห้าสิบบาทให้นับเป็นหนึ่งร้อยบาท ถ้าต่ำกว่าห้าสิบบาท ให้ปัดทิ้ง
เมื่อได้ชำระค่าธรรมเนียมศาลแล้ว ถ้าทุนทรัพย์แห่งคำฟ้องเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะโดยการยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือโดยประการอื่น ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชำระค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา"
ประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง การชำระค่าธรรมเนียมศาล พ.ศ. 2560 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 73 ก เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2560)
ประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง การชำระค่าธรรมเนียมศาล พ.ศ. 2560 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 73 ก เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2560)
ข้อ 3 กำหนดว่า "การชำระค่าธรรมเนียมศาลอาจชำระได้โดยวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) เช็คซึ่งธนาคารรับรอง หรือเช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย
(3) บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
(4) หักบัญชีธนาคาร หรือชำระผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการบริการรับชำระหนี้แทนหรือด้วยเครื่องฝากถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM)
(5) ทางอินเตอร์เน็ต
การชำระค่าธรรมเนียมศาลตามวรรคหนึ่งจะต้องเป็นกรณีที่ชำระภายในระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ และหากมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเรียกเก็บเงินตามวิธีการดังกล่าว ให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลเป็นผู้รับภาระ
ข้อ 4 การชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือบัตรอื่นใดในลักษณะเดียวกันให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือบัตรอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ที่ออกโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นใดซึ่งได้ทำความตกลงกับสำนักงานศาลปกครอง
(2) กรณีบัตรที่ใช้ชำระมิใช่เป็นบัตรของผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือเป็นการชำระแทนในนามของผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล สามารถดำเนินการได้โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลออกใบรับเงินในนามของผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ข้อ 5 การชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยการหักบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงินต้องได้รับอนุญาตจากศาลและผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือยินยอมให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินหักเงินจากบัญชีของตนเพื่อชำระค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินดังกล่าวได้อนุมัติและแจ้งผลให้ศาลทราบแล้ว โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลออกใบรับเงินให้
ข้อ 6 การชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจบริการรับชำระหนี้แทนได้ ให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารหรือสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลนั้นได้ทำความตกลงกับสำนักงานศาลปกครองแล้ว
(2) พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลต้องออกใบแจ้งการชำระค่าธรรมเนียมศาล เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลใช้เป็นหลักฐานในการชำระ
(3) ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลต้องนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อศาลเพื่อออกใบรับเงิน
สำหรับการชำระค่าธรรมเนียมศาลผ่านเครื่องฝากถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลต้องนำหลักฐานการชำระผ่านเครื่องดังกล่าวมาแสดงต่อศาลเพื่อออกใบรับเงิน
ข้อ 7 การชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยทางอินเตอร์เน็ตให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) การชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยทางอินเตอร์เน็ตจะต้องเป็นการชำระผ่านทางเว็บไซต์ของธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่สำนักงานศาลปกครองกำหนดไว้
(2) การชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยทางอินเตอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต ธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตรได้ทำความตกลงกับสำนักงานศาลปกครองแล้ว
(3) ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลต้องนำหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมศาลมาแสดงต่อศาลเพื่อออกใบรับเงิน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น