ความเข้าใจผิดของโรงเรียน เกี่ยวกับการลงโทษนักเรียน 5 สถาน
โพสต์นี้สืบเนื่องมาจากเรื่อง หลักเกณฑ์การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งผมได้รับการสอบถามจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ว่าการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดการลงโทษไว้ 4 สถาน หรือ 5 สถาน และต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะถูกต้อง
นอกจากนี้บางเว็บไซต์มีการระบุว่า ระเบียบดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติม โดยใช้ชื่อว่า "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550" ซึ่งเพิ่มการลงโทษอีก 1 สถาน คือ "พักการเรียน" ทำให้การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา สามารถลงโทษได้ 5 สถาน โดยเรียงจากโทษน้อยไปหามากดังนี้
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทันบน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5. พักการเรียน
รวมทั้ง ยังปรากฏข้อมูลว่า สถานศึกษาหลายแห่งได้กำหนดระเบียบวินัยของนักเรียนและนักศึกษา และบทลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ 5 สถาน เพื่อใช้บังคับกับนักเรียนและนักศึกษา
สภาพปัญหาที่พบ มีการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งมีการกำหนดโทษไว้ 4 สถาน คือ
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทัณฑ์บน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทัณฑ์บน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
นอกจากนี้บางเว็บไซต์มีการระบุว่า ระเบียบดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติม โดยใช้ชื่อว่า "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550" ซึ่งเพิ่มการลงโทษอีก 1 สถาน คือ "พักการเรียน" ทำให้การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา สามารถลงโทษได้ 5 สถาน โดยเรียงจากโทษน้อยไปหามากดังนี้
1. ว่ากล่าวตักเตือน
2. ทำทันบน
3. ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5. พักการเรียน
รวมทั้ง ยังปรากฏข้อมูลว่า สถานศึกษาหลายแห่งได้กำหนดระเบียบวินัยของนักเรียนและนักศึกษา และบทลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ 5 สถาน เพื่อใช้บังคับกับนักเรียนและนักศึกษา
กฎหมาย ระเบียบ จากการค้นคว้ากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้เขียนพบว่า
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 35 ง เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 และกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 120 ง ได้เผยแพร่ กระทู้ถามที่ 042 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคำตอบกระทู้ถามที่ 042 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องการลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจงเรื่องการลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีหนังสือซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการรักษาวินัยของข้าราชการครู เพื่อกำชับกวดขันให้ผู้บริหารสถานศึกษาเอาใจใส่ และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียน พ.ศ. 2548 อย่างเคร่งครัด ซึ่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ข้อ 4 , 5 และ 6 ได้กำหนดให้การลงโทษนักเรียนนั้นต้องมีความมุ่งหมาย เพื่อการอบรมสั่งสอนเท่านั้น และการลงโทษนักเรียนที่กระทำความผิด มีเพียง 4 สถานเท่านั้น
นอกจากนี้ยังปรากฏข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการได้นำ บทความเรื่อง การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ของรองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนารงค์ ที่เผยแพร่ใน ไทยรัฐออนไลน์ มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ โทษที่จะลงแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถาน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2558
ดังนั้น ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 กำหนดให้ลงโทษได้ 4 สถาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้มีอำนาจหน้าที่ในการวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาได้ชี้แจงตอบกระทู้ถามที่ 042 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ว่าการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาก็ทำได้เพียง 4 สถานเท่านั้น
จึงสรุปได้ว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ซึ่งเพิ่มโทษ "พักการเรียน" ขึ้นอีก 1 สถาน จึงไม่ถูกต้องและไม่เป็นความจริง และกรณีที่สถานศึกษาหลายแห่งกำหนดโทษ "พักการเรียน" โดยอาศัยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการฯ ฉบับที่ 2 ซึ่งไม่มีอยู่จริงดังกล่าว จึงไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ สถานศึกษาที่กำหนดระเบียบวินัยและกำหนดการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ 5 สถาน จะต้องแก้ไขระเบียบของสถานศึกษาให้เป็นไปตาม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
ขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ลบขอถามเพื่อความชัดเจนค่ะ ว่าบทลงโทษพักการเรียนในสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย มีหรือไม่มีคะ ที่มีอยู่ถือว่าผิดหรือไม่
ตอบลบระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 เป็นกฎหมายลูก ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ใช้บังคับในส่วนของนักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา จึงไม่สามารถลงโทษพักการเรียนซึ่งเป็นการแยกเด็กออกจากการศึกษาและไม่ได้มุ่งหมายเพื่ออบรมสั่งสอน แต่สำหรับบุคคลที่มีอายุเกิน 18ปีบริบูรณ์แล้ว ไม่ใช่เด็กที่กฎหมายต้องการมุ่งคุ้มครอง การพักการเรียนจึงเป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยแยกต่างหาก อย่างไรก็ตาม หากนำระเบียบพักการเรียนมาใช้กับนักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า18ปีบริบูรณ์ ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายคุ้มครองเด็กครับ
ลบระเบียบ กระทรวง กำหนดใหัเป็นอำนาจของ ผู้อำนวยการหรือคนที่ได้รับมอบหมายไม่ใช่ครูทุกคนจะลงโทษได้
ตอบลบขอบคุณครับ
ลบสวัสดีค่ะ เรียนเรียนอยู่โรงเรียนเอกชน ได้กระทำความผิดวินัย ทะเลาะวิวาทแต่ไม่ได้รุนแรงมาก 2 ครั้งและครั้งที่ 3 ได้เอามือไปผลักหน้าอกผู้หญิง โรงเรียนไล่ออก ซึ่งเหลืออีกเดือนเดียวก็จะจบปีการศึกษา นักเรียนมีสิทธิ์ที่จะขอคะแนนและเวลาเรียนที่ผ่านมาได้หรือไม่เพื่อไปเรียนที่อื่นขอบคุณค่ะ
ตอบลบมีสิทธิครับ ติดต่อโรงเรียนได้เลยครับ
ลบขอสอบถามค่ะ ลูกชายเรียนอยู่ ม. 1 ติด 0 1 วิชา ร.ร.บอกจะให้เรียนซ้ำบ้าง จะให้ย้าย ร.ร. บ้าง วันนี้จะให้พักการเรียน อยากทราบว่าแรงเกินไปไหมคะ
ตอบลบ(เคสนี้ได้ติดต่อคุณแม่ทางไลน์และอีเมลแล้ว) ติด0 1วิชา เด็กต้องแก้0 ถ้าแก้ไม่ผ่านตามเกณฑ์ อาจ "เรียนซ้ำรายวิชา" ในช่วงเที่ยง หรือนอกเวลา วันหยุด ต้องดูระเบียบของโรงเรียน แต่จะไม่มีการพักการเรียนครับ
ลบสอบถามค่ะ เด็กผช ป.4 โดนไล่ออก นึกจากว่ามีเรื่องชู้สาว อีกฝ่ายหนึ่งผญ ป.5 แล้วดช จะโดนล่วงละเมิดทางเพศด้วย พึ่งผู้ปกครองมองว่า ไม่สมเหตุสมผล ในการไล่ค่ะ
ตอบลบติดต่อโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียนได้เลยครับ เพื่อให้ช่วยหาทางแก้ไขที่ถูกต้องและเหมาะสม ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข สามารถโทรศัพท์แจ้งเรื่องร้องเรียนที่สายด่วนกระทรวงศึกษาธิการ 1579 ได้เลยครับ หากยังไม่ได้รับการแก้ไขอีก ยังมีหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อีกจำนวนมากครับ แจ้งข้อมูลมาที่อีเมลผมได้เลยครับ
ลบเด็กสักลาย เป็นอักษรภาษาอังกฤษ1ตัวที่ข้อมือตั้งแต่ป.6 พอขึ้นม.1โรงเรียนใหม่เรียนมาได้ครึ่งเทอมครูพึ่งเห็น เลยสั่งพักการเรียน และเรียกผู้ปกครองเพื่อจะขอเชิญออก แบบนี้มีแนวทางแก้ไขมั้ยคะ หรือต้องออกอย่างเดียวซึ่งจ่ายค่าเทอมไปทั้งหมดแล้ว
ตอบลบคุยกับโรงเรียน หาทางแก้ไขได้ครับ ไม่ต้องพักการเรียน
ลบสวัสดีครับพอดีลูกชายผมทะเลาะวิวาทในโรงเรียนแล้วโดนพักการเรียน 7 วันแล้วไม่ให้สอบร่วมกับเพื่อนหลังจากโรงเรียนสอบเสร็จปิดเทอมแล้วให้มาตามสอบเอาแบบนี้ผมต้องทำไงครับ
ตอบลบติดต่อโรงเรียน สามารถใช้แนวทางลงโทษอื่นที่ระเบียบกำหนดได้ครับ
ลบ