แนวข้อสอบ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 1 - 11)
ข้อ 1 ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ขั้นตอนการอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ เพราะเป็นหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมและมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ
ข. ระยะเวลาการอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะกำหนด
ค. ขั้นตอนและระยะเวลาการอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ เพราะเป็นหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมและมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ
ง. ขั้นตอนและระยะเวลาการอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะกำหนด
ข้อ 2 วันใช้บังคับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. วันพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. วันพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 3 วันใช้บังคับตามข้อ 2 ตรงกับวันใด
ก. 14 พฤศจิกายน 2539
ข. 15 พฤศจิกายน 2539
ค. 14 พฤษภาคม 2540
ง. 15 พฤษภาคม 2540
ข้อ 4 การดำเนินการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ จะต้อง
ก. ให้คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองออกประกาศกำหนด
ข. ตราพระราชกำหนดตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ค. ให้คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองออกกฎ
ง. ตราพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้อ 5 พระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่ใช้บังคับกับ
ก. การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการบังคับคดี
ข. การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการวางทรัพย์
ค. การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 6 ข้อบัญญัติท้องถิ่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้แก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ จัดอยู่ในความหมายของเรื่องใด
ก. คำสั่งทางปกครอง
ข. กฎ
ค. พระราชกฤษฎีกา
ง. ประกาศกระทรวง
ข้อ 7 การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้จำเป็นจะต้องออกกฎกระทรวงและประกาศ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของบุคคลในข้อใด
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อ 8 ผู้จะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง เนื่องจากสิทธิจะถูกกระทบกระเทือน คือผู้ใด
ก. เจ้าหน้าที่
ข. ผู้มีส่วนได้เสีย
ค. คู่กรณี
ง. คู่กรณีผู้มีส่วนได้เสีย
ข้อ 9 ข้อใดคือความหมายของคำสั่งทางปกครอง
ก. การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ เช่น การออกกฎ
ข. การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ เช่น การไม่อนุญาต
ค. การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ เช่น คำสั่งวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ง. การออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตามสัญญาก่อสร้าง
ข้อ 10 ข้อใดคือความหมายของวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ก. การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่
ข. มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ
ค. รวมถึงการดำเนินการใดๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 11 เกี่ยวกับคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ประธานกรรมการ แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ข. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
ง. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
ข้อ 12 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านใด
ก. นิติศาสตร์
ข. รัฐศาสตร์
ค. ศึกษาศาสตร์
ง. บริหารราชการแผ่นดิน
ข้อ 13 หน่วยงานใดทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ก. สำนักงานคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ค. สำนักงานอัยการสูงสุด
ง. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อ 14 ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ก. ดำเนินการตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข. ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ค. ให้คำแนะนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่
ง. เสนอแนะการออกระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อ 15 เกี่ยวกับวาระดำรงตำแหน่งในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ประธานกรรมการมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ข. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี
ค. ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก
ง. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ข้อ 16 พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่กรณีใด
ก. การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ข. ระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมายควบคุมอาคาร
ค. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ง. การดำเนินกิจการขององค์การทางศาสนา
ข้อ 17 ข้อใดมิใช่บทบาทสำคัญของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาตามกฎหมายนี้
ก. ร่วมพิจารณากับคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข. ให้คำแนะนำการปรับปรุงปฏิบัติราชการทางปกครอง
ค. สนับสนุนฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ง. รับผิดชอบงานประชุมของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้อ 18 ความในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายนี้
ข. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศ
ค. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ง. ข้อ ก. ข. และ ค. ไม่ถูกต้อง
ข้อ 19 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้
ก. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ นายบรรหาร ศิลปโอชา นายกรัฐมนตรี
ข. ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
ค. ตราขึ้นโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติในยุครัฐประหาร
ง. พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539"
ข้อ 20 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับนี้
ก. ไม่มีการแก้ไข
ข. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ค. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ง. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561
เฉลย
ข้อ 1 ตอบ ง. มาตรา 3
ข้อ 2 ตอบ ง. มาตรา 2
ข้อ 3 ตอบ ค. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 4 ตอบ ง. มาตรา 4 วรรคท้าย
ข้อ 5 ตอบ ง. มาตรา 4 (4)
ข้อ 6 ตอบ ข. มาตรา 5
ข้อ 7 ตอบ ก. มาตรา 6
ข้อ 8 ตอบ ค. มาตรา 5
ข้อ 9 ตอบ ข. มาตรา 5
ข้อ 10 ตอบ ง. มาตรา 5
ข้อ 11 ตอบ ก. มาตรา 7
ข้อ 12 ตอบ ค. มาตรา 7
ข้อ 13 ตอบ ข. มาตรา 10
ข้อ 14 ตอบ ง. มาตรา 11 (4) เสนอแนะการตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง/ประกาศ
ข้อ 15 ตอบ ก. มาตรา 8 และมาตรา 76
ข้อ 16 ตอบ ค. มาตรา 3 และมาตรา 4
ข้อ 17 ตอบ ข. มาตรา 4 มาตรา 10 มาตรา 11
ข้อ 18 ตอบ ค. มาตรา 7 วรรคสอง
ข้อ 19 ตอบ ค. คำปรารภ
ข้อ 20 ตอบ ข. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนที่ 89 ก วันที่ 30 ธันวาคม 2557
***แนวข้อสอบ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง***
ชุดที่ 6 (เร็ว ๆ นี้)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น