การจับกุม "เด็ก"
โดยหลักทั่วไป ห้ามจับกุมเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์) เนื่องจากเป็นผู้มีอายุน้อย อ่อนด้อยประสบการณ์ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น 3 กรณีต่อไปนี้ ซึ่งตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
1. กระทำความผิดซึ่งหน้า
กระทำความผิดซึ่งหน้า ตามความหมายในมาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือ
1.1 ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ เช่น ตำรวจเห็นเด็กกำลังเอาไม้ตีศีรษะผู้อื่น
1.2 พบในอาการซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ เช่น เห็นเด็กวิ่งมาในมือถือมีดมีเลือดติดมาสด ๆ และมีเสียงร้องว่าผู้ร้ายฆ่าคน
1.3 ความผิดอาญาที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ในกรณีดังนี้
(1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำ โดยมีเสียงร้องเอะอะ เช่น ตำรวจเห็นคนวิ่งผ่านหน้า แล้วมีคนวิ่งตามหลังร้องตะโกนเอะอะว่าผู้ร้ายวิ่งราว หรือลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ หรือผู้ร้ายฆ่าคน
(2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ และมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิดหรือมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นสันนิษฐานว่า ได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น เช่น เห็นไฟลุกพลุ่งที่ห้องแถว และสักครู่มีคนหิ้วกระป๋องน้ำมันวิ่งมาจากห้องแถวนั้น
สำหรับบัญชีแนบท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ความผิดในกฎหมายลักษณะอาญา ที่มาตรา 79 อ้างถึง ซึ่งราษฎรมีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย ดังนี้
- ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล มาตรา 97 และ 99
- ขบถภายในพระราชอาณาจักร มาตรา 101 ถึง 104
- ขบถภายนอกพระราชอาณาจักร มาตรา 105 ถึง 111
- ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ มาตรา 112
- ทำอันตรายแก่ธง หรือเครื่องหมายของต่างประเทศ มาตรา 115
- ความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา 119 ถึง 122 และ 127
- หลบหนีจากที่คุมขัง มาตรา 163 ถึง 166
- ความผิดต่อศาสนา มาตรา 172 และ 173
- ก่อการจลาจล มาตรา 183 และ 184
- กระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน กระทำให้สาธารณชนปราศจากความสะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกัน และกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสุขสบาย มาตรา 185 ถึง 194, 196, 197 และ 199
- ปลอมแปลงเงินตรา มาตรา 202 ถึง 205 และ 210
- ข่มขืนกระทำชำเรา มาตรา 243 ถึง 246
- ประทุษร้ายแก่ชีวิต มาตรา 249 ถึง 251
- ประทุษร้ายแก่ร่างกาย มาตรา 254 ถึง 257
- ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ มาตรา 268, 270 และ 276
- ลักทรัพย์ มาตรา 288 ถึง 296
- วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และโจรสลัด มาตรา 297 ถึง 302
- กรรโชก มาตรา 303
- ขบถภายในพระราชอาณาจักร มาตรา 101 ถึง 104
- ขบถภายนอกพระราชอาณาจักร มาตรา 105 ถึง 111
- ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ มาตรา 112
- ทำอันตรายแก่ธง หรือเครื่องหมายของต่างประเทศ มาตรา 115
- ความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา 119 ถึง 122 และ 127
- หลบหนีจากที่คุมขัง มาตรา 163 ถึง 166
- ความผิดต่อศาสนา มาตรา 172 และ 173
- ก่อการจลาจล มาตรา 183 และ 184
- กระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน กระทำให้สาธารณชนปราศจากความสะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกัน และกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสุขสบาย มาตรา 185 ถึง 194, 196, 197 และ 199
- ปลอมแปลงเงินตรา มาตรา 202 ถึง 205 และ 210
- ข่มขืนกระทำชำเรา มาตรา 243 ถึง 246
- ประทุษร้ายแก่ชีวิต มาตรา 249 ถึง 251
- ประทุษร้ายแก่ร่างกาย มาตรา 254 ถึง 257
- ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ มาตรา 268, 270 และ 276
- ลักทรัพย์ มาตรา 288 ถึง 296
- วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และโจรสลัด มาตรา 297 ถึง 302
- กรรโชก มาตรา 303
2. มีหมายจับ
เป็นกรณีที่มีหลักฐานตามสมควร ว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรง ที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะก่อเหตุร้ายประการอื่น ศาลได้ตรวจสอบแล้ว จึงออกหมายจับ
3. มีคำสั่งศาล
เป็นกรณีคล้ายกับกรณีที่ 2 ที่ศาลได้ตรวจสอบพยานหลักฐานแล้ว หรือกรณีขัดคำสั่งหรือหมายเรียกให้มาศาล
ที่มา อ.ประเทือง ธนิยผล. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว, (มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2562)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น