9 สิทธิ ที่ควรรู้ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
ปัจจุบันพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บังคับใช้มากว่า 20 ปี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 (เล่ม 114 ตอนที่ 46 ก) ในสมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีผลใช้บังคับในวันที่ 9 ธันวาคม 2540 สมัยนายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ
1. รับรองสิทธิได้รู้ หรือได้รับทราบของประชาชน (Right to Know) ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”
2. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารสำคัญ ภายใต้หลักการ “ความจำเป็นในการคุ้มครอง” และไม่ให้มีการละเมิดซึ่งจะกระทบต่อสิทธิผลประโยชน์ส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ
(1) คุ้มครองความลับของทางราชการ โดยมีระเบียบกำหนดไว้แน่ชัดว่าข้อมูลข่าวสารใดจะกำหนดชั้นความลับได้บ้าง
(2) คุ้มครองประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน เช่น ความลับทางการค้าสูตรผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิต
(3) คุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”
3. สิทธิขอดู ตามมาตรา 11 มีสิทธิขอข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ของราชการโดยระบุข้อมูลในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบมีหน้าที่จัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นข้อมูลที่ต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้นหรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้
6. สิทธิร้องเรียน ตามมาตรา 13 เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตามมาตรา 11 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.)
กฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดสิทธิที่สำคัญ 9 ข้อ ที่ประชาชนควรรู้ ได้แก่
1. สิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการซึ่งต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เป็นไปตามมาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา อย่างน้อยต่อไปนี้
(1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
(2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
(3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
(4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
สำหรับข้อมูลข่าวสารที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ได้
ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร
2. สิทธิเข้าตรวจดู เป็นไปตามมาตรา 9 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยต่อไปนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้
(1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
(2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4)
(3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
(4) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
(5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา 7 วรรคสอง
(6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
(7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
(8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
อย่างไรก็ตาม ถ้าข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 อยู่ด้วย ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น
3. สิทธิขอดู ตามมาตรา 11 มีสิทธิขอข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ของราชการโดยระบุข้อมูลในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบมีหน้าที่จัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นข้อมูลที่ต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้นหรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้
สำหรับข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจบุบสลายง่าย หน่วยงานของรัฐจะขอขยายเวลาในการจัดหาให้หรือจะจัดทำสำเนาให้ในสภาพอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสารนั้นก็ได้
4. สิทธิได้รับสำเนาและขอให้รับรองสำเนาถูกต้อง ตามมาตรา 9 และมาตรา 11
5. สิทธิคัดค้านการเปิดเผย ตามมาตรา 17 เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 15 วันนับ โดยจะต้องใช้สิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ
6. สิทธิร้องเรียน ตามมาตรา 13 เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตามมาตรา 11 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.)
7. สิทธิอุทธรณ์ ตามมาตรา 18 และมาตรา 25 วรรคสี่
ซึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียตามมาตรา 17 ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.) หรือในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำขอ ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ กวฉ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสาร โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อ กขร.
8. สิทธิได้รู้และแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ตามมาตรา 25 ซึ่งกำหนดให้บุคคลมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน เมื่อมีคำขอเป็นหนังสือแล้ว หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นมีหน้าที่ต้องให้บุคคลนั้นตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น และถ้าเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ก็มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น
9. สิทธิดำเนินการแทน ตามมาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 โดยกำหนดบุคคลที่มีสิทธิดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ดังนี้
(1) ถ้าเจ้าของข้อมูลเป็นผู้เยาว์ ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิดำเนินการแทนตามมาตรา 25 วรรคห้า แต่ถ้าผู้เยาว์มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เยาว์ด้วย
(2) ถ้าเจ้าของข้อมูลเป็นคนไร้ความสามารถ ให้ผู้อนุบาลมีสิทธิดำเนินการแทนตามมาตรา 25 วรรคห้า
(3) ถ้าเจ้าของข้อมูลเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถทำการตามมาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือมีเหตุอื่นทำนองเดียวกัน ให้ผู้พิทักษ์มีสิทธิดำเนินการแทนตามมาตรา 25 วรรคห้า
(4) ถ้าเจ้าของข้อมูลถึงแก่กรรม และมิได้ทำพินัยกรรมกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิดำเนินการแทนตามมาตรา 24 ได้ตามลำดับก่อนหลัง ดังต่อไปนี้
(4.1) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม
(4.2) คู่สมรส
(4.3) บิดาหรือมารดา
(4.4) ผู้สืบสันดาน
(4.5) พี่น้องร่วมบิดามารดา
(4.6) คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
จะเห็นได้ว่ากฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชาชนอย่างเรา เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับรู้ รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารในครอบครองของทางราชการอย่างกว้างขวาง และให้ความคุ้มครองประโยชน์ได้เสียของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดขึ้น
ที่มา :
#นักเรียนกฎหมาย
30 กรกฎาคม 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น