สาระสำคัญ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีสาระสำคัญดังนี้
1. กฎกระทรวงฉบับนี้ประกาศใช้เป็นการทั่วไป โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
2. กฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ ได้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับเดิม (กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553)
3. การประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย
3.1 การประเมินและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
3.2 มีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน ว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล
4. สถานศึกษามีหน้าที่ จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้
4.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
4.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
4.3 จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
4.4 ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
4.5 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นประจำทุกปี
5. หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้
5.1 ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5.2 รับรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
5.3 จัดทำประเด็นที่ต้องการให้มีการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ โดยรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย
5.4 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง (ตามข้อ 5.3) พร้อมกับประเด็นที่จัดทำไว้ (ตามข้อ 5.4) ให้แก่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก
5.5 เมื่อ สมศ. ได้ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลแล้ว จะต้องติดตามผลการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
6. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. มีหน้าที่ ดังนี้
6.1 ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
6.2 จัดทำรายงานผลการประเมินและการติดตามตรวจสอบ พร้อมข้อเสนอแนะ
ทั้งนี้ สมศ. อาจมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้
6.3 จัดส่งรายงานและข้อเสนอแนะ (ตามข้อ 6.2) ให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูและ เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
1. กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
2. เว็บไซต์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
1. กฎกระทรวงฉบับนี้ประกาศใช้เป็นการทั่วไป โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
2. กฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ ได้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับเดิม (กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553)
3. การประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย
3.1 การประเมินและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
3.2 มีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน ว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล
4. สถานศึกษามีหน้าที่ จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้
4.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
4.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
4.3 จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
4.4 ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
4.5 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นประจำทุกปี
5. หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้
5.1 ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5.2 รับรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
5.3 จัดทำประเด็นที่ต้องการให้มีการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ โดยรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย
5.4 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง (ตามข้อ 5.3) พร้อมกับประเด็นที่จัดทำไว้ (ตามข้อ 5.4) ให้แก่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก
5.5 เมื่อ สมศ. ได้ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลแล้ว จะต้องติดตามผลการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
6. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. มีหน้าที่ ดังนี้
6.1 ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
6.2 จัดทำรายงานผลการประเมินและการติดตามตรวจสอบ พร้อมข้อเสนอแนะ
ทั้งนี้ สมศ. อาจมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้
6.3 จัดส่งรายงานและข้อเสนอแนะ (ตามข้อ 6.2) ให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูและ เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
#นักเรียนกฎหมาย
30 กรกฎาคม 2561
ที่มา 1. กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
2. เว็บไซต์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น