บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

การมีผลย้อนหลังของกฎหมาย

          โดย หลักทั่วไป กฎหมายจะไม่มีผลย้อนหลัง แต่มีข้อยกเว้นให้สามารถย้อนหลังได้ถ้าเป็นไปเพื่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยของรัฐ           แต่ใน กฎหมายอาญา ถือเป็นหลักสากลที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งกฎหมายไทยมีบทบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย..."           ในทางกลับกัน หากกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณกว่ากฎหมายขณะกระทำความผิด ก็สามารถย้อนหลังใช้บังคับให้เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ เพราะถือว่าในขณะประกาศใช้กฎหมายใหม่ ความร้ายแรงของการกระทำนั้นได้ลดลงแล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะลงโทษหนักเหมือนเดิม*           ส่วน กฎหมายปกครอง นั้น ศาลปกครองสูงสุดได้นำหลักความไม่มีผลย้อนหลังของนิติกรรมทางปกครองมาใช้ด้วย โดยวินิจฉัยว่า "การบังคับใช้กฎหมายนั้น รัฐจะกระทำการได้ก็ต่อเมื่อได้ประกาศให้บุคคลรับทราบถึงเนื้อหาของกฎหมาย เพื่อที่ผู้อยู่

ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ตามกฎหมายต่างๆ

          การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย คือ การโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งลงโทษ เพื่อให้ผู้มีอำนาจได้พิจารณาทบทวนอีกครั้ง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ของข้าราชการแต่ละประเภท ย่อมเป็นไปตามกฎหมายของข้าราชการแต่ละประเภท ซึ่งกฎหมายแต่ละประเภทกำหนด ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ไว้แตกต่างกัน เช่น           1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา * กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยเท่านั้นที่มีสิทธิอุทธรณ์           2. ข้าราชการตำรวจ ** กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการตำรวจผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และหากถึงแก่ความตายก่อนใช้สิทธิอุทธรณ์ทายาทก็มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้           3. ข้าราชการพลเรือนสามัญ *** กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ นอกจากนี้อาจมอบหมายให้ทนายความหรือบุคคลอื่นอุทธรณ์แทน หรือหากถึงแก่ความตายก่อนใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดก็มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้           4. ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร **** ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยมีลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้ารา

การปิดเว็บไซต์การพนัน ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

          ในเรื่องการปิดกั้นเว็บไซต์การพนัน โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 11) ได้มีคำวินิจฉัยไว้แล้ว โดยได้วินิจฉัยในประเด็นหลัก 2 ประเด็น คือ             1. การเปิดเว็บไซต์เพื่อให้มีการเล่นพนัน เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน             2. ในส่วนที่ 2 เป็นการตีความพ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 20* ที่กำหนดให้การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายนั้นได้                 แต่การใช้อำนาจตามมาตรา 20 ต้องเป็นกรณีที่มีการกระทำที่พ.ร.บ.คอมฯ บัญญัติว่าเป็นความผิดเสียก่อน เมื่อปรากฏว่า การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับการพนัน ไม่ถือเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมฯ นี้ จึงไม่สามารถยื่นคำร้องต่อศา

ความหมาย "การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย"

          คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ได้ให้ความหมาย ในเรื่อง "การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย"  ไว้ว่า           " กรณีที่จะถือว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใด  ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกฎหมายนั้นๆ หรือไม่??  พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอน ที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด  รวมทั้งต้องติดตามผลการดำเนินการต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ "           ตัวอย่าง คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการฯ  เป็นเรื่องที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน  ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535  ออกคำสั่ง ให้โรงงานอุตสาหกรรมปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสีย  ให้เป็นไปตาม เกณฑ์มาตรฐาน ที่กฎหมายกำหนดไว้  เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ระยะเวลาได้ล่วงเลย ที่จะพึงบังคับใช้กฎหมายมานานแล้ว  เมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบว่ามีการแก้ไขตามคำสั่งหรือไม่  จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน (ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ 1539/2555) #นักเร