การมีผลย้อนหลังของกฎหมาย
โดยหลักทั่วไปกฎหมายจะไม่มีผลย้อนหลัง แต่มีข้อยกเว้นให้สามารถย้อนหลังได้ถ้าเป็นไปเพื่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยของรัฐ
แต่ในกฎหมายอาญา ถือเป็นหลักสากลที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งกฎหมายไทยมีบทบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย..."
ในทางกลับกันหากกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณกว่ากฎหมายขณะกระทำความผิด ก็สามารถย้อนหลังใช้บังคับให้เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ เพราะถือว่าในขณะประกาศใช้กฎหมายใหม่ ความร้ายแรงของการกระทำนั้นได้ลดลงแล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะลงโทษหนักเหมือนเดิม*
ส่วนกฎหมายปกครองนั้น ศาลปกครองสูงสุดได้นำหลักความไม่มีผลย้อนหลังของนิติกรรมทางปกครองมาใช้ด้วย โดยวินิจฉัยว่า "การบังคับใช้กฎหมายนั้น รัฐจะกระทำการได้ก็ต่อเมื่อได้ประกาศให้บุคคลรับทราบถึงเนื้อหาของกฎหมาย เพื่อที่ผู้อยู่ในบังคับจะได้ควบคุมการกระทำของตนเองให้สอดคล้องกับกฎหมายเช่นว่านั้น และรัฐไม่อาจใช้อำนาจเพิ่มเติมให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลเกินกว่าผลทางกฎหมายที่มีอยู่ในขณะกระทำการได้"**
อ้างอิง
* ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 13), กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2554 หน้า 18
** จิดาภา มุสิกธนเสฏฐ์. "กฎ"...ไม่มีผลย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่บุคคล,
แต่ในกฎหมายอาญา ถือเป็นหลักสากลที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งกฎหมายไทยมีบทบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย..."
ในทางกลับกันหากกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณกว่ากฎหมายขณะกระทำความผิด ก็สามารถย้อนหลังใช้บังคับให้เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ เพราะถือว่าในขณะประกาศใช้กฎหมายใหม่ ความร้ายแรงของการกระทำนั้นได้ลดลงแล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะลงโทษหนักเหมือนเดิม*
ส่วนกฎหมายปกครองนั้น ศาลปกครองสูงสุดได้นำหลักความไม่มีผลย้อนหลังของนิติกรรมทางปกครองมาใช้ด้วย โดยวินิจฉัยว่า "การบังคับใช้กฎหมายนั้น รัฐจะกระทำการได้ก็ต่อเมื่อได้ประกาศให้บุคคลรับทราบถึงเนื้อหาของกฎหมาย เพื่อที่ผู้อยู่ในบังคับจะได้ควบคุมการกระทำของตนเองให้สอดคล้องกับกฎหมายเช่นว่านั้น และรัฐไม่อาจใช้อำนาจเพิ่มเติมให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลเกินกว่าผลทางกฎหมายที่มีอยู่ในขณะกระทำการได้"**
#นักเรียนกฎหมาย
อ้างอิง
* ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 13), กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2554 หน้า 18
** จิดาภา มุสิกธนเสฏฐ์. "กฎ"...ไม่มีผลย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่บุคคล,
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น