ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ตามกฎหมายต่างๆ
การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย คือ การโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งลงโทษ เพื่อให้ผู้มีอำนาจได้พิจารณาทบทวนอีกครั้ง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ของข้าราชการแต่ละประเภท ย่อมเป็นไปตามกฎหมายของข้าราชการแต่ละประเภท ซึ่งกฎหมายแต่ละประเภทกำหนดผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไว้แตกต่างกัน เช่น
1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา* กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยเท่านั้นที่มีสิทธิอุทธรณ์
2. ข้าราชการตำรวจ** กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการตำรวจผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และหากถึงแก่ความตายก่อนใช้สิทธิอุทธรณ์ทายาทก็มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้
3. ข้าราชการพลเรือนสามัญ*** กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ นอกจากนี้อาจมอบหมายให้ทนายความหรือบุคคลอื่นอุทธรณ์แทน หรือหากถึงแก่ความตายก่อนใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดก็มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้
4. ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร**** ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยมีลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษ, ทนายความหรือบุคคลอื่น หรือทายาท
จะเห็นได้ว่า กฎหมายของข้าราชการแต่ละประเภทกำหนดตัวผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไม่เหมือนกัน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรมของข้าราชการประเภทต่างๆ อย่างไรก็ตาม กฎหมายในระยะหลังจะเพิ่มสิทธิมากยิ่งขึ้นแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญในปี 2551 และข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ปี 2555
------------------------------
* กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2550
"ข้อ 4 การอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัย ให้อุทธรณ์ได้สําหรับตนเองเท่านั้น จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้"
** กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2547
"ข้อ 3 ข้าราชการตํารวจผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคําสั่ง
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบําเหน็จตกทอดของผู้นั้นมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คําสั่งแทนได้ ภายใต้กําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง..."
*** กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551
"ข้อ 23 กรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนถึงแก่ความตายก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดของผู้นั้น มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้..."
"ข้อ 24 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะมอบหมายให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วทำการอุทธรณ์แทนได้ ด้วยเหตุจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เจ็บป่วยจนไม่สามารถอุทธรณ์ด้วยตนเองได้
(2) อยู่ในต่างประเทศและคาดหมายได้ว่าไม่อาจอุทธรณ์ด้วยตนเองได้ทันเวลาที่กำหนด
(3) มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ ก.พ.ค. หรือองค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์เห็นสมควร"
**** กฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2555
"ข้อ 23 กรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ถึงแก่ความตายก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ทายาทผู้มีสิทธิรับบําเหน็จตกทอดของผู้นั้น มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้..."
"ข้อ 24 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะมอบหมายให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วทําการอุทธรณ์แทนได้ ด้วยเหตุจําเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เจ็บป่วยจนไม่สามารถอุทธรณ์ด้วยตนเองได้
(2) อยู่ในต่างประเทศและคาดหมายได้ว่าไม่อาจอุทธรณ์ด้วยตนเองได้ทันเวลาที่กําหนด
(3) มีเหตุจําเป็นอย่างอื่นที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร หรือองค์คณะวินิจฉัยเห็นสมควร"
1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา* กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยเท่านั้นที่มีสิทธิอุทธรณ์
2. ข้าราชการตำรวจ** กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการตำรวจผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และหากถึงแก่ความตายก่อนใช้สิทธิอุทธรณ์ทายาทก็มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้
3. ข้าราชการพลเรือนสามัญ*** กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ นอกจากนี้อาจมอบหมายให้ทนายความหรือบุคคลอื่นอุทธรณ์แทน หรือหากถึงแก่ความตายก่อนใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดก็มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้
4. ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร**** ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยมีลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษ, ทนายความหรือบุคคลอื่น หรือทายาท
จะเห็นได้ว่า กฎหมายของข้าราชการแต่ละประเภทกำหนดตัวผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไม่เหมือนกัน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรมของข้าราชการประเภทต่างๆ อย่างไรก็ตาม กฎหมายในระยะหลังจะเพิ่มสิทธิมากยิ่งขึ้นแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญในปี 2551 และข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ปี 2555
#นักเรียนกฎหมาย
------------------------------
* กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2550
"ข้อ 4 การอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัย ให้อุทธรณ์ได้สําหรับตนเองเท่านั้น จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้"
** กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2547
"ข้อ 3 ข้าราชการตํารวจผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคําสั่ง
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบําเหน็จตกทอดของผู้นั้นมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คําสั่งแทนได้ ภายใต้กําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง..."
*** กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551
"ข้อ 23 กรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนถึงแก่ความตายก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดของผู้นั้น มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้..."
"ข้อ 24 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะมอบหมายให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วทำการอุทธรณ์แทนได้ ด้วยเหตุจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เจ็บป่วยจนไม่สามารถอุทธรณ์ด้วยตนเองได้
(2) อยู่ในต่างประเทศและคาดหมายได้ว่าไม่อาจอุทธรณ์ด้วยตนเองได้ทันเวลาที่กำหนด
(3) มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ ก.พ.ค. หรือองค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์เห็นสมควร"
**** กฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2555
"ข้อ 23 กรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ถึงแก่ความตายก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ทายาทผู้มีสิทธิรับบําเหน็จตกทอดของผู้นั้น มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้..."
"ข้อ 24 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะมอบหมายให้ทนายความ หรือบุคคลอื่นซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วทําการอุทธรณ์แทนได้ ด้วยเหตุจําเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เจ็บป่วยจนไม่สามารถอุทธรณ์ด้วยตนเองได้
(2) อยู่ในต่างประเทศและคาดหมายได้ว่าไม่อาจอุทธรณ์ด้วยตนเองได้ทันเวลาที่กําหนด
(3) มีเหตุจําเป็นอย่างอื่นที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร หรือองค์คณะวินิจฉัยเห็นสมควร"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น