บทความ

แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (กรณีสถานการณ์แผ่นดินไหว)

รูปภาพ
แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (กรณีสถานการณ์แผ่นดินไหว)  ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.2/ว 15 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2568  

คู่มือการบังคับคดี

รูปภาพ
คู่มือการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี จัดพิมพ์โดย สถาบันนิติวัชร์ และสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด

คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

รูปภาพ
คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.)

คู่มือการดำเนินการทางวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

รูปภาพ
คู่มือการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ✅ (ฉบับเต็ม) ✅ (ฉบับย่อ) (สำนักงาน ก.ค.ศ.)

คนต่างด้าวทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ ไม่ใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย (ฎ.2744/2562)

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 บัญญัติว่า "คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา 84 คนต่างด้าวดังกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย... ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี" และมาตรา 94 บัญญัติว่า "บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาต ให้คนต่างด้าวนั้นจัดจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"  แม้โจทก์ร่วมเป็นคนต่างด้าว แต่ บทบัญญัติมาตรา 86 แห่ง ประมวลกฎหมาย ที่ดิน มิได้ห้ามเด็ดขาดกรณีคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยคนต่างด้าวอาจขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และแม้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คนต่างด้าวก็ยังม...

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ✅ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ✅ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ที่เกี่ยวข้อง ✅พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ✅พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ✅พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ✅พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ✅ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ✅ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 ✅พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

สัญญาเป็นโมฆะ แม้เช็คเด้งก็ไม่เป็นความผิด (ฎ.2894/2522)

จำเลยออกเช็คชำระหนี้โจทก์ ตามสัญญาซื้อขายบ้านที่จำเลยเป็นผู้ซื้อ  เช็คถึงกำหนดแล้ว โจทก์เบิกเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากเงินในบัญชีไม่พอจ่าย  เมื่อปรากฏว่าการซื้อขายบ้านอันเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก   เ ช็คพิพาทเป็นเช็คชำระหนี้ตามสัญญาที่เป็นโมฆะ จึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้  ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 (ขณะนั้น) มาตรา 3 ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

ผู้รับประกันภัยไม่นำสืบปฏิเสธความคุ้มครอง (ฎ.3312/2564)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 สัญญาประกันภัย เป็นนิติกรรมสองฝ่าย ที่คู่สัญญามีคำเสนอคำสนองต้องตรงกัน ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตกลงจะชำระเบี้ยประกันภัยด้วย  กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบของสัญญาไว้   ส่วนตารางกรมธรรม์ประกันภัยเป็นเพียงหลักฐานการรับประกันที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อแสดงว่าตนได้เข้ารับประกันความเสี่ยงภัยนั้นไว้แล้ว หาใช่เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวไม่  เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองในนามของโจทก์ตามใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งในข้อ 12 ระบุความคุ้มครองภัยเพิ่มพิเศษรวมถึงลมพายุไว้ด้วย และต่อมาจำเลยที่ 2 ออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ได้ให้คำจำกัดความคำว่า กรมธรรม์ประกันภัย หมายความรวมถึง ใบคำขอเอาประกันด้วย  ดังนั้น ใบคำขอเอาประกันภัย จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัย  นอกจากนี้ยังปรากฏข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยว่า ทำสัญญาประกันภัยวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันที่ผู้มีอำนาจของจำเล...

สัญญากำหนดให้ผู้บริโภคระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการอย่างเดียว ใช้บังคับไม่ได้ (ฎ.4184/2565)

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ออกใช้บังคับแก่คดีผู้บริโภค ภายใต้หลักการให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม เป็นบทกฎหมายที่กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทในคดีผู้บริโภคไว้โดยเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ  ส่วนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการทางอนุญาโตตุลาการ แม้จะเป็นวิธีการที่คู่สัญญาอาจเลือกใช้ในการระงับข้อพิพาทและมีผลใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลงของคู่สัญญา ตามหลักเสรีภาพของการแสดงเจตนา แต่ก็ต้องเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ผู้บริโภคต้องมีโอกาสต่อรองหรือตระหนักดีว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ  ซึ่งกล่าวเฉพาะคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับ สำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติแตกต่างจากบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 หลายประการ ซึ่งโดยรวมแล้วอาจเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภคที่พึงมี แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการลดทอนสิทธิที่ผู้บริโภคพึงได้รับตามบทบัญญัติ พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณ...

เจตนาแบ่งซื้อพัสดุ (ฎ.1662/2562)

จำเลยแบ่งการจัดซื้อยา โดยลดวงเงินแต่ละครั้งให้เหลือครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้อยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะจัดซื้อได้โดยวิธีตกลงราคา  จึงเป็นวิธีการเพื่อให้แบ่งซื้อสำเร็จ สามารถใช้เงินงบประมาณปลายปีได้หมดตามเจตนาของจำเลย หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 22 วรรคสอง  อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  แม้จำเลยจัดซื้อยาในปีงบประมาณ 2540 รวม 10 ครั้ง และในปีงบประมาณ 2541 รวม 12 ครั้ง ถือว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะใช้เงินงบประมาณให้หมดในแต่ละปีงบประมาณ ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวในแต่ละปีงบประมาณ จึงเป็นความผิด 2 กระทง หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนครั้งที่จัดซื้อรวม 22 กระทง ไม่ ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

เจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อไม่ได้ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่ผู้รับจำนองทราบก่อนการขายทอดตลาด (ฎ.3853/2566)

เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท ให้แก่ธนาคาร อ. ผู้รับจำนองทราบก่อนการขายทอดตลาด เป็นเหตุให้ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด ด้วยเหตุดังกล่าว เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ในเรื่องสำคัญ และเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องมีความระมัดระวังในเรื่องนี้ เพราะเป็นหน้าที่ของตนตามกฎหมาย แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ย่อมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์  ความรับผิดทางละเมิดในกรณีเช่นนี้ จึงตกอยู่แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 285 วรรคหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม เรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เนื่องจากมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติว่า "บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใด ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัติ...

ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน (ฎ.5160/2566)

ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 บัญญัติว่า "ในกรณีทำให้เขาถึงตาย... ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย"  การจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดแรงงานของบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ จึงต้องเป็นกรณีที่ก่อนเกิดเหตุผู้ถูกทำละเมิด มีหน้าที่ไม่ว่าโดยสัญญาหรือโดยกฎหมายต้องทำการงานให้แก่บุคคลอื่น หากไม่มีหน้าที่หรือความผูกพันตามกฎหมายหรือตามสัญญาแล้ว บุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้   ขณะผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ที่ 1 ในฐานะมารดาของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1567 (3) ที่จะให้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าขาดแรงงานได้  และเมื่อผู้ตายกับโจทก์ที่ 2 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้ตายกับโจทก์ที่ 2 จึ...

กู้เงินโดยไม่แจ้งว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์ (ฎ.1505/2567)

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย"  โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลย จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่ไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์ โดยปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และโอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์...

ใช้เอกสารปลอมจากการกระทำผิดตามประมวลรัษฎากร เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน (ฎ.1581/2567)

แม้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น รับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว  แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ประมวลกฎหมายอาญา  ไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตาม ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 268 วรรคสอง   การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195, 212 ประกอบมาตรา 225 ที่มา  ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา  

นักโทษลักลอบนำโทรศัพท์เข้าเรือนจำ (ฎ.7639/2562)

การที่จำเลยซึ่งเป็นนักโทษได้นัดหมายให้บุคคลภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมนักโทษ ให้นำเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์มาส่งมอบแก่จำเลยในเรือนจำ เมื่อจำเลยได้รับโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์แล้วก็ลักลอบนำเข้าแดนตนเองจนถูกจับกุมดำเนินคดีนั้น  เมื่อ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 45 (เดิม) ที่ใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิด มิได้บัญญัติให้การครอบครองหรือการเก็บรักษาไว้ซึ่งสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำเป็นความผิด การที่จำเลยครอบครองและเก็บรักษาไว้ซึ่งสิ่งของต้องห้าม คือโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์ของกลางที่บุคคลภายนอกนำมาส่งให้ การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการผิดระเบียบของเรือนจำ และเป็นเรื่องที่จำเลยอาจต้องรับผิดทางวินัยของผู้ต้องขัง แต่ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว  ส่วนการที่บุคคลภายนอกลักลอบนำโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์อันเป็นสิ่งของต้องห้ามเข้ามาให้จำเลยในเรือนจำ การกระทำของบุคคลภายนอกย่อมเป็นความผิดฐานนำสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในเรือนจำ   แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับบุคคลภายนอกเป็นพวกเดียวกันมาก่อน จำเลยเพิ่งรู้จักเมื่อบุคคลภายนอกมาเยี่ยมผู้ต้องขัง และไม่ได...

เทศบาลปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปในการจัดหาประโยชน์จากตลาดสด ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครอง (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 42/2567)

แม้เทศบาลตําบล ร. จําเลยที่ 1 จะมีฐานะเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 70 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 โดยมีหน้าที่ตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (3) และมาตรา 51 (3) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  แต่เมื่อ พิจารณาการกระทําที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า การที่ จําเลยที่ 2 เป็นผู้ชนะการประมูลห้องสุขา แจ้งให้โจทก์รื้อถอนแผงลอยและจะถือเอาพื้นที่ที่โจทก์ได้รับสิทธิมาโดยชอบมาเป็นของตน และการที่ จําเลยที่ 1 มีคําสั่งให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สิน และบริวารออกจากบริเวณหน้าอาคารห้องน้ำตลาดสดของจําเลยที่ 1 เพื่อจะนําพื้นที่ของโจทก์ไปเอื้อประโยชน์ให้แก่จําเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ขอให้ศาลมีคําพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ ใช้พื้นที่แผงลอยซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าห้องสุขาตลาดสดเทศบาลตําบล ร. ดีกว่าจําเลยที่ 2 โดยให้จําเลยที่ 1 ยุติหรือเพิกถอนคําสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากพื้นที่ของโจทก์  จะเห็น...

สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินระงับสิ้นไปโดยสัญญาประนีประนอม (ฎ.4008/2567)

การที่จำเลยที่ 1 ยื่นแบบคำขอกู้และรับรองสิทธิโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. ระบุวัตถุประสงค์ไว้ในข้อ 3 ว่า เพื่อชำระหนี้และทุนการศึกษาบุตร แสดงว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้เกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแนบท้ายแบบคำขอกู้ดังกล่าว   อันแสดงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาทำสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้น หนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (1) ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมกันรับผิดต่อธนาคาร อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489  แต่เมื่อได้ความว่า ในคดีที่ธนาคาร อ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ และ ท. กับโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดพะเยานั้น ต่อมา ธนาคาร อ. จำเลยที่ 1 ท. และโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว  ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวระงับสิ้นไป โดยธนาค...